กกพ. เผยเอกชนสอบผ่าน โครงการ“SPP Hybrid Firm” จำนวน 10 โครงการคิดเป็นปริมาณซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญาจำนวน 159.73 เมกะวัตต์ กว่าครึ่งของเป้าหมายรับซื้อ และย้ำมติ กบง.ทุกรายต้อง “COD”ก่อนสิ้นปี 2565
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ กกพ. ได้มีนโยบายเร่งรัดเพื่อสรุปผลการลงนามรับซื้อไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พ.ศ. 2560 หรือโครงการ SPP Hybrid Firm โดยล่าสุดในวันที่ 22 มีนาคม 2564 มีผู้ประกอบการภาคเอกชนจำนวน 10 รายสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 159.73 เมกะวัตต์ มีเอกชนที่ไม่สามารถลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้จำนวน 7 รายรวมปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวมกัน 140.27 เมกะวัตต์
นายคมกฤช กล่าวว่า ในจำนวนเอกชน 7 รายที่ไม่สามารลงนาม PPA พบว่ามี 2 รายปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวมกัน 43.00 เมกะวัตต์ สามารถผ่านเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมแล้วแต่ไม่สามารถลงนาม PPA และจำนวน 5 รายปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวมกัน 97.27 เมกะวัตต์ที่ไม่สามารถผ่านเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ กกพ. ได้เน้นย้ำให้เอกชนทั้ง 10 รายที่สามารถลงนาม PPA ได้แล้วเร่งดำเนินการขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการก่อสร้างและทดสอบเครื่องจักรให้สามารถ COD ได้ทันก่อนสิ้นปี 2565 เนื่องจากมีเวลาเหลืออีกไม่มากนัก
ทั้งนี้ ในการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP Hybrid Firm พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา มีเอกชนได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 17 ราย เสนอขายไฟฟ้าทั้งสิ้นรวม 300 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ภายในปี 2564 ตามเป้าหมาย
- กกพ.มีมติ ตรึงค่าไฟฟ้าต่ออีก4 เดือน
- กกพ. ชี้แจงมาตรการค่าไฟ โควิด–19 รอบ 2
- SSP วางเป้าผลิตไฟฟ้าปี 64 แตะ 200 MW
- SSP มั่นใจผลงานปี 63 สร้างสถิติสูงสุด
ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดไว้ และต่อมาคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติให้ขยาย SCOD โดยกำหนดให้ COD ก่อนสิ้นปี 2565 ซึ่ง กกพ. ก็ได้ขยายกำหนดวันลงนาม PPA จากกำหนดการเดิมภายใน 13 ธันวาคม 2562 เป็นภายใน 22 มีนาคม 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับมติ กบง. และสถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว