กนอ.เตรียมจัดทำประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด ได้แก่ พื้นที่ EEC 3 จังหวัด (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง) จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมเร่งสำรวจความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2564 ที่มีนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเสนอแนะและให้ความเห็นในการพัฒนาและดำเนินการผลักดันมาตรการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดแรงดึงดูดและแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการ ขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่างการจัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเพื่อเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ. ในพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด ประกอบด้วย พื้นที่ EEC 3 จังหวัด (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง) จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะดำเนินการคัดเลือกและเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินการต่อไป
เลือกใบเลื่อยอย่างไร? ให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ | Pacific Mercury [Super Source]
อย่างไรก็ตาม จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมฯ ด้วยว่า มีความต้องการจำนวนแรงงานเท่าไหร่ และทักษะฝีมือรูปแบบใดที่ต้องการ เพื่อให้ตรงกับที่กรมราชทัณฑ์มี หรืออาจจะต้องเตรียมจำนวนแรงงานและทักษะฝีมือนั้นๆ เพิ่ม เพื่อให้ได้แรงงานที่มีปริมาณและทักษะฝีมือตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดการสร้างงานและสร้างโอกาสให้ผู้ต้องขังหลังพ้นโทษอย่างมีประสิทธิภาพ
- กนอ.เร่งศึกษาแนวทางจัดตั้งนิคมฯ ราชทัณฑ์
- กนอ. ชู 4 ปัจจัยพัฒนาอุตสาหกรรม สู่ Smart Eco
- กนอ.เซ็นต์สัญญาตั้งนิคมฯ “เอเพ็กซ์กรีน” ในพื้นที่อีอีซี
- กนอ. เซ็น MOU ให้ความรู้ โควิด-19 ลดภาระสถานพยาบาล
“สำหรับรูปแบบการจัดตั้งนิคมฯ ค่อนข้างชัดเจนที่จะใช้รูปแบบเอกชนร่วมดำเนินการ โดยเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่เอกชนเป็นผู้จัดหาพื้นที่และพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถดำเนินการได้เร็วที่สุด ซึ่งหลังจากมีความชัดเจนด้านพื้นที่โครงการแล้ว จะดำเนินการด้านการกำหนดสิทธิประโยชน์แก่ผู้พัฒนานิคมฯ ผู้ประกอบการโรงงานในนิคมฯ ดังกล่าว และสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการใช้แรงงานจากผู้พ้นโทษที่ถูกคุมประพฤติ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักลงทุน ซึ่งขณะนี้มีเอกชนที่ให้ความสนใจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมแล้ว 2-3 ราย” นายวีริศ กล่าวทิ้งท้าย