กฟผ. เปิดให้บริการ 3 เว็บไซต์ เพื่อเป็นตลาดกลางซื้อขายสิทธิการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ลดปัญหาภาวะโลกรวน
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. มีความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่รุนแรงมากขึ้นหรือภาวะโลกรวนที่เกิดขึ้นจากภาคการผลิตไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. ได้เปิดตัวเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายสิทธิการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการไป เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 และเพื่อสนับสนุนการซื้อขาย REC ให้เข้าถึงง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งจึงได้เปิดให้บริการ GreenLink Marketplace สำหรับเป็นตลาดกลางซื้อขาย REC ขึ้นที่เว็บไซต์ https://greenlink.egat.co.th ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป เพื่อเป็นแหล่งนัดพบและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจซื้อหรือขาย REC ตลอดจนเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
เทคโนโลยี Tubular Form-Fill-Seal ที่เพิ่มกำไรและส่วนแบ่งตลาดจากการบรรจุถุง
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ I-REC ISSUER ทาง https://irecissuer.egat.co.th/ ซึ่ง กฟผ. ได้รับสิทธิจาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นผู้ดำเนินการรายเดียวในประเทศไทย ไว้สำหรับบริการให้ความรู้ ขึ้นทะเบียนผู้ขาย ขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า รวมถึงให้การรับรองและส่งมอบ REC ตลอดจนรับสมัครหน่วยงานที่สนใจขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอก (3rd Party Verifier) สำหรับการยืนยันข้อมูลโครงการที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ กฟผ. นำมาประกอบการรับรอง REC ต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลและผลิตภัณฑ์พลังงานสีเขียวของ กฟผ. อาทิ เครดิต REC และเครดิตจากคาร์บอนเครดิตตามกลไก T-VER ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดของเครดิตแต่ละประเภทและโครงการที่สนใจได้ที่เว็บไซต์ EGAT Green Credits https://egc.egat.co.th/
- EA จับมือ กฟผ.พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
- กฟผ. ผุดศูนย์บริหารจัดการน้ำอัจฉริยะรับมาตรการ กอนช.
- กฟผ. ผ่านฉลุย โครงการ “แม่เมาะเมืองน่าอยู่”
ทั้งนี้ การเปิดให้บริการทั้ง 3 เว็บไซต์ จะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สอดรับกับทิศทางการเติบโตของพลังงานสีเขียว ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกลุ่มผู้ประกอบการชั้นนำทั่วโลกและกลุ่มบริษัท RE100 ที่ต้องการเข้ามาลงทุนที่มุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอันนำไปสู่การจ้างงานสร้างรายได้ ตลอดจนขับเคลื่อนประเทศไทยบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสในการลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – 25 ภายในปี 2573 สู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำได้สำเร็จต่อไป