กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รับมอบหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ของแหล่งมโนราห์ พร้อมระบุ ตั้งแต่เริ่มผลิตปิโตรเลียมปี 2557- 2564 มีรายได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 3,000 ล้านบาทแล้ว
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวภายหลัง รับมอบหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม จาก บริษัท บุษราคัม มโนรา จำกัด และ Tap Energy (Thailand) Pty Ltd. ผู้รับสัมปทานแปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/48 (แหล่งผลิตมโนราห์) ว่า การวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมครั้งนี้ เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบของผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ในการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายและหน้าที่รับผิดชอบการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม รวมทั้งทำให้รัฐมีความมั่นใจว่าผู้รับสัมปทานจะไม่ละทิ้งหน้าที่ในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งภายหลังสิ้นสุดการใช้งาน
Random Bin Picking จาก Brainworks สุดยอดโซลูชัน Pick & Place ที่ทำงานด้วย AI ที่ใช้งานง่ายที่สุด!
ตลอดจนไม่เป็นภาระแก่รัฐสำหรับค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน โดยผู้รับสัมปทานได้ดำเนินการยื่นขอความเห็นชอบแผนงานการรื้อถอนเบื้องต้นและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน และวางหลักประกันการรื้อถอนฯ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559
ทั้งนี้ แหล่งผลิตมโนราห์ ตั้งอยู่ในเขตแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/48 สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2549/75 ได้รับสัมปทานเมื่อ 8 ธันวาคม 2549 โดยมีช่วงสำรวจปิโตรเลียมเป็นเวลา 6 ปี และเริ่มเข้าสู่ช่วงระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม 20 ปี ตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2578 โดยมีผู้รับสัมปทานจำนวน 2 ราย ประกอบด้วย บริษัท บุษราคัม มโนรา จำกัด และ Tap Energy (Thailand) Pty Ltd.
ปัจจุบันแหล่งผลิตมโนราห์ สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ยวันละ 5,200 บาร์เรล (ข้อมูลเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2565) ประกอบด้วยสิ่งติดตั้ง ดังนี้ แท่นผลิต หลุมปิโตรเลียม หลุมอัดกลับน้ำ ท่อขอส่งปิโตรเลียม และเรือกักเก็บน้ำมันดิบ
- กรมเชื้อเพลิงฯ เซ็ญสัญญาซื้อขายก๊าซฯ แหล่งเอราวัณ-บงกช
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เร่งประสานการเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณ
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมบนบก
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อนุมัติ พื้นที่ผลิตปิโตรเลียม AA
ซึ่งที่ผ่านมาแหล่งผลิตปิโตรเลียมดังกล่าว สามารถสร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐในรูปแบบค่าภาคหลวง โดยผู้รับสัมปทานได้ชำระค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตั้งแต่เริ่มผลิต (วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557) จนถึงปี 2564 รวมเป็นมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท