Taiwan-Excellent
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 2 เดือนปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 2 เดือนปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9

การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 2 เดือนปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9

Date Post
30.03.2022
Post Views

กรมธุรกิจพลังงาน เผย สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 2 เดือนของปี 2565 (มกราคม – กุมภาพันธ์) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.9

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.9 โดยการใช้กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7 กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 การใช้ NGV เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 อย่างไรก็ตาม น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 9.4

World Skills UK จัดการแข่งขันงานกัดขึ้นรูปยกระดับมาตรฐานงานผลิต

การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 30.12 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7) เนื่องจากฐานการใช้กลุ่มเบนซินในเดือนมกราคม 2564 อยู่ในระดับต่ำ สาเหตุจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สำหรับปริมาณการใช้กลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 29.51 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.1) การใช้แก๊สโซฮอล์ 95 และแก๊สโซฮอล์ อี85 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.61 ล้านลิตร/วัน และ 0.96 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ ขณะที่ การใช้แก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ อี20 ลดลงมาอยู่ที่ 7.01 ล้านลิตร/วัน และ 5.93 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ ทั้งนี้ การใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 0.61 ล้านลิตร/วัน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการใช้กลุ่มเบนซินเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 พบว่า การใช้ลดลงร้อยละ 2.9 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินที่อยู่ในระดับสูง

การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 77.00 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.1) สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 การใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 63.79 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.6) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 ปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 3.70 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้ 0.22 ล้านลิตร/วัน การใช้ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และการตรึงราคาให้ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร นอกจากนี้ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลเพื่อการผลิตไฟฟ้าราว 7.09 ล้านลิตร/วัน

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 6.88 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.1) เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการการบินและการเดินทางเข้าประเทศในรูปแบบ Test & Go อีกครั้ง โดยเริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน ยังคงส่งผลให้การใช้น้ำมัน Jet A1 อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ

การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 17.23 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7) เนื่องจากการใช้ในภาคปิโตรเคมีที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.45 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.7) ภาคขนส่งที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.93 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.7) และภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.04 ล้านกก./วัน (ร้อยละ 8.2) สำหรับการใช้ในภาคครัวเรือนใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 5.81 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2)

การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.28 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.8) เนื่องจากฐานการใช้ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุจากความกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,029,709 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.5) โดยการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 950,269 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.7) สอดคล้องกับความต้องการใช้ในประเทศที่สูงขึ้น มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 83,369 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.8) สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 79,440 บาร์เรล/วัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิดน้ำมัน ยกเว้นน้ำมันเบนซินพื้นฐาน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวม 6,433 ล้านบาท/เดือน

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา

น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกลดลงมาอยู่ที่ 153,954 บาร์เรล/วัน (ลดลง ร้อยละ 12.5) คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 14,833 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 51.4) มูลค่าการส่งออกที่สูงขึ้นนี้เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Digitech2024