กระทรวงอุตสาหกรรม เน้นจุดยืน กำกับโรงงานควบคู่ดูแลแหล่งน้ำ ออกประกาศ เรื่อง กำหนดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ พ.ศ. 2566

ก.อุตฯ ออกประกาศ กำหนดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแหล่งน้ำสาธารณะ พ.ศ. 2566

Date Post
24.03.2023
Post Views

กระทรวงอุตสาหกรรม เน้นจุดยืน กำกับโรงงานควบคู่ดูแลแหล่งน้ำ ออกประกาศ เรื่อง กำหนดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ พ.ศ. 2566 ขับเคลื่อนการพัฒนาตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ที่มุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุลทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ให้ความสำคัญกับการตรวจกำกับการประกอบกิจการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ควบคู่กับการดูแลแหล่งน้ำ จึงได้มีการออกประกาศ อก. ฉบับล่าสุด เรื่อง กำหนดให้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ พ.ศ. 2566 กำหนดให้แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำ ที่กิโลเมตรศูนย์ขึ้นไปทางตอนเหนือจนถึงจุดเริ่มต้นของแม่น้ำ ที่กิโลเมตร 384 เป็นแหล่งน้ำสาธารณะ สอดรับกับกฎกระทรวงฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2559) ที่ระบุให้มีการกำหนดระยะห่างระหว่างพื้นที่ที่จะตั้งหรือขยายโรงงานกับแหล่งน้ำสาธารณะ โดยในระยะไม่เกิน 100 เมตร ห้ามตั้งและขยายโรงงานจำพวก 3 แต่สามารถขยายโรงงาน 101 ที่รับเฉพาะน้ำเสียจากชุมชน หรือขยายโรงงานเพื่อปรับปรุงระบบบำบัดมลพิษของโรงงาน ในระยะเกินกว่า 100 เมตรถึง 500 เมตร สามารถตั้งและขยายโรงงานจำพวก 3 ได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไข (1) ต้องมีการจัดการน้ำเสียภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยต้องไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงาน (2) หากขยายโรงงานในพื้นที่เดิมต้องมีการระบายปริมาณน้ำทิ้งไม่เกินกว่าที่เคยได้รับอนุญาตไว้ ในส่วนของโรงงาน 101 ที่รับเฉพาะน้ำเสียจากชุมชนสามารถตั้งหรือขยายโรงงานได้และสามารถระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงานได้ พร้อมเตรียมยกเลิกประกาศ อก. เรื่อง มาตรการควบคุมความสกปรกของน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อฟื้นฟูคุณภาพในแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2551 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมาย

MIT พัฒนา “แว่นตา” มองทะลุสิ่งกีดขวาง ค้นหาสิ่งของได้อย่างแม่นยำ | FactoryNews ep.48/6

“กรอ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการออกประกาศ อก. เรื่อง กำหนดให้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้ 21 มีนาคม 2566 และการยกเลิกการบังคับใช้ประกาศ อก. เรื่อง มาตรการควบคุมปริมาณความสกปรกของน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อฟื้นฟูคุณภาพในแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2551 จะสามารถช่วยส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินการควบคู่ไปกับการลดผลกระทบและอุปสรรคในภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังคงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ที่มุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” นายจุลพงษ์ กล่าว

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์