‘ความลังเล’ สร้างโอกาสใหม่ที่แตกต่างออกไป

Date Post
12.11.2021
Post Views

จากการศึกษาข้อมูลของทีมวิจัยจาก Ohio State University พบว่าผู้คนมักเรียนรู้ข้อมูลสำคัญจากความยาวนานของเวลาที่คนอื่นเกิดความลังเลก่อนการตัดสินใจ ซึ่งช่วงระยะเวลาเหล่านี้เผยให้เห็นข้อเสียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในเวลาเดียวกัน

นักวิจัยพบว่าเมื่อผู้คนเห็นคนในกลุ่มของตัวเองลังเลหรือรั้งรอก่อนที่จะตัดสินใจ พวกเขามีแนวโน้มที่จะแยกตัวออกจากกลุ่มและทำการเลือกที่แตกต่างออกไป การที่ผู้คนเห็นอาการรั้งรอก่อนที่จะตัดสินใจนั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น และพวกเขาไม่มั่นใจว่าจะทำการเลือกตัวเลือกที่ถูกต้องได้

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ผู้คนมั่นใจในฉันทามติของกลุ่มน้อยลง และปลดปล่อยพวกเขาจากการตัดสินใจที่มีพื้นฐานจากข้อมูลที่มีซึ่งสามาถช่วยให้หลีกหนีจากผลลัพธ์อันไม่น่าอภิรมย์ได้ ในการเรียนรู้นั้นมีการแบ่งกลุ่มออกไปตามพฤติกรรม เช่น กลุ่มการเมือง การเงิน และแฟชัน หรือสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาที่อาจทำให้เกิดพฤติกรรมของฝูงชนหรือลักษณะกลุ่มคนได้

ภายใต้การทดสอบในกรอบที่มีว่าอยู่ภายใต้เทรนด์เดียวกัน การรั้งรออาจเปิดเผยให้เห็นว่าพวกเขาก็ไม่ได้เป็นแบบเดียวกันเสียทีเดียว และหากผู้คนสังเกตได้ว่าคนอื่น ๆ นั้นมีอาการลังเลก่อนที่จะเข้าร่วมกลุ่ม นั่นอาจจะเปลี่ยนทิศทางกระแสที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด

ขอยกตัวอย่าง เช่น ลองคิดถึงแคมเปญทางการเมืองที่ผู้ลงสมัครมองหาการสนับสนุนจากนักการเมืองที่มีชื่อเสียง การสนับสนุนที่เชื่องช้าหรือมาช้าในช่วงปลายแคมเปญอาจบอกได้ว่ามีการสนับสนุนที่น้อย มีแรงจูงใจต่ำกว่าคนที่มีการสนับสนุนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นของแคมเปญ

การศึกษานี้ใช้นักศึกษาจำนวน 72 คนแบ่งเป็น 8 กลุ่ม ในระยะเวลา 30 รอบของการทดสอบ ผู้เข้าร่วม 8 คนจะได้รับถุงเวอร์ชวลที่มีลักษณะเฉพาะ ภายนถุงมีลูกบอล 3 ลูกมีเครื่องหมาย A หรือ B อยู่ ในแต่ละครั้งผู้เข้าร่วมจะดึงลูกบอลออกมา 1 ลูกและดูว่ามีตัวอักษรอะไร จากนั้นคาเดาว่าตัวอักษรไหนจะปรากฎขึ้นบ่อยที่สุดในถุง ยกตัวอย่าง เช่น หากกลุ่มแรกดึงลูกบอลออกมาแล้วเจอบอล A มันก็เมคเซนส์เข้าใจได้สำหรับคนนั้นว่าในถุงจะมีบอล A มากกว่า แต่ละคนที่ตามมาจะเห็นว่าคนก่อนหน้าคาดการณ์อะไรไว้ แต่จะไม่รู้ว่ามีตัวอักษรอะไรบนบอลก่อนหน้าเหล่านั้น กลุ่มผู้เข้าร่วมที่เหลือจะเกิดความรู้สึกยากลำบากในการเลือกตัดสินใจ

เช่น คุณเป็นคนที่ 4 ที่ในกลุ่มซึ่งหยิบได้บอล A ก็มีแนวโน้มที่ว่าบอล A เยอะกว่า แต่คุณก็รู้ว่าสามคนก่อนหน้าเดาว่าบอล B นั่นทำให้คุณต้องตัดสินใจว่าจะเชื่อข้อมูลของตัวเองที่เลือก A หรือจะเลือกข้อมูลจากการอ้างอิงกลุ่ม คือ บอล B

การลังเลที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นสัญญาณที่สำคัญ หากคุณเห็นคนก่อนหน้าในห่วงโซ่ครุ่นคิดสักพักก่อนเลือกบอล B ซึ่งในกรณีที่คนก่อนหน้าหยิบได้บอล A เหมือนกันกับคุณแต่ลังเลและหันมาเลือกบอล B ตามกลุ่ม ในกรณีนี้การเลือก A อาจจะเข้าใจได้สำหรับคุณ

นั่นเป็นคำตอที่ว่าผู้เข้าร่วมนั้นตีความสถานการณ์ว่าข้อมูลมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นในกลุ่ม เมื่อผู้ทำการทดลองตัดสินใจเชื่องช้า ผู้เข้าร่วมจึงเลือกสวนทางกับกลุ่มถึง 66% เปรียบเทียบกับการเลือกแบบเดียวกันในสัดส่วนเพียง 33% เมื่อคนที่ทำการทดลองก่อนหน้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และในกรณีที่กลุ่มตัดสินใจผิด มักจะทำให้ผู้คนแยกออกจากแนวคิดกลุ่มและหันไปเลือกตัวเลือกที่ถูกต้อง

ที่มา:
News.osu.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
‘โปรตีนยั่งยืน’ เทรนด์สำคัญในอุตสาหกรรมอาหารที่ผลักดันด้วยระบบอัตโนมัติ
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Taiwan-Excellent