คอร์สแอร์ เดินหน้า เพิ่มกำลังการผลิต โรงงานรีไซเคิลขยะพลาสติก เป็นน้ำมัน จาก 200,000 ลิตรต่อเดือน เป็น 1,000,000 ลิตรต่อเดือนในปี 2565 ลดปัญหาขยะล้นเมือง

นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า บริษัท เตรียมขยาย พื้นที่ตั้งโรงงาน โรงงานรีไซเคิลขยะพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมัน จาก 6,400 ตารางเมตร10,000 ตารางเมตร เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม 200,000 ลิตรต่อเดือน เป็น 1,000,000 ลิตรต่อเดือนในปี 2565เพื่อรองรับปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ได้ก่อให้เกิดมลภาวะจากขยะพลาสติกที่ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากคนทั่วโลกมีความจำเป็นและความต้องการซื้อหน้ากากอนามัยรวมถึงอุปกรณ์ในการดูแลป้องกันสุขภาพของตนเอง ส่งผลถึงการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก และพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรายงานว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 60% โดยอัตราการผลิตพลาสติกรายปียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในประเทศไทยเองมีการสร้างขยะพลาสติกปีละกว่า 2,000 ล้านกิโลกรัม มีการนำไปรีไซเคิลเพียงแค่ไม่ถึง 10% ตลอดจนรายงานการผลิตขยะพลาสติกทั่วโลกมากกว่าถึง 370 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 ขยะพลาสติกกว่า 12 พันล้านตันจะทับถมอยู่ในหลุมขยะฝังกลบและปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ
- Taiwan Excellence โชว์เทคโนโลยีเครื่องจักรแปรรูปพลาสติกและยางรุ่นใหม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- PTG จับมือ SCGP ตั้งจุดรับขยะไปรีไซเคิล
- อินโดรามา เวนเจอร์ส โชว์ศักยภาพโรงงานรีไซเคิล PET จ.นครปฐม ต้อนรับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ก.อุตฯสาหกรรม ผลักดันอุตสาหกรรมรีไซเคิล สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
ดังนั้นเป้าหมายของ คอร์สแอร์ คือการเปลี่ยนขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งและไม่ถูกทำลายเพื่อย่อยสลายเหล่านี้ให้กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์บนแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมมือมือกับองค์กรหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา กรุ๊ป, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน), แดรี่โฮม และอีกหลายแห่ง เพื่อ ร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ล้นเมืองและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับโลกใบนี้ได้มีความอุดมสมบูรณ์ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสร้างสรรค์มลภาวะที่ดีสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่ต่อไป