Kosmo

ปกปิดและปลอมอารมณ์ในที่ทำงานส่งผลร้ายกว่าที่คิด!

Date Post
21.02.2020
Post Views

อะไรที่ไม่จริง ไม่เหมาะสมกับความเป็นจริงมักจะนำมาซึ่งปัญหาอื่น ๆ เสมอ และในกรณีนี้การปกปิดอารมณ์แท้จริงในที่ทำงานหรือการ Fake นั้นสร้างปัญหาในระยะยาวให้กับคนทำงานนั่นเอง

 

University of Arizona เปิดเผยรายงานการวิจัยว่าการปลอมอารมณ์ในที่ทำงานนั้นเหมือนจะดี แต่ที่จริงแล้วสร้างผลกระทบอันเลวร้ายเสียมากว่า แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะบอกว่าการปลอมอารมณ์จะช่วยทำให้มีผลประโยชน์ที่ดีกว่าก็ตาม

จากประโยค “Fake it until you make it” หรือปลอมจนกว่าจะทำมันได้จริงเป็นแนวคิดเชิงบวกที่ทำให้ชีวิตนั้นก้าวต่อไปได้โดยได้รับผลประยชน์ที่ดี แต่สิ่งนี้จะมีผลกระทบย้อนกลับเมื่อต้องปกปิดอารมณ์ใช้กับเพื่อนร่วมงาน

นักวิจัยกล่าวว่าในความเป็นจริงแล้วการบอกความรู้สึกที่แท้จริงออกไปจะสร้าง Productivity ที่ดีกว่า งานวิจัยใช้การศึกษาที่แยกออกเป็นสองกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ได้แก่ กลุ่มที่ใช้การแสดงเชิงลึก (Deep Acting) และ การแสดงแบบผิวเผิน (Surface Acting) 

การแสดงแบบผิวเผินนั้นเป็นการปลอมการแสดงออกที่มีต่อผู้อื่น แม้ภายในอาจหัวเสียและหงุดหงิดอย่างมากในขณะที่ภายนอกกลับพยายามที่จะสงบและมองในแง่บวกให้มากที่สุด

สำหรับการแสดงแบบเชิงลึกนั้นเป็นการพยายามเปลี่ยนวิธีที่คุณจะรู้สึกภายใน เมื่อคุณอยู่ในลักษณะของการแสดงแบบเชิงลึกคุณจะพยายามทำให้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นและวิธีที่คุณปฏิสัมพันธ์กับภายนอกนั้นเป็นรูปแบบเดียวกันอยู่

จากการศึกษาได้แบ่งกลุ่มอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานออกเป็นคน 4 ประเภท ได้แก่

  • Nonactors กลุ่มที่แสดงออกภายนอกและภายในเล็กน้อย
  • Low Actors กลุ่มที่มีการแสดงออกภายนอกและภายในมากกว่ากลุ่มแรกนิดหน่อย
  • Deep Actors กลุ่มที่แสดงอาการภายในระดับสูงที่สุดแต่มีการแสดงออกภายนอกระดับต่ำ
  • Regulators กลุ่มที่มีการแสดงออกภายในและภายนอกในระดับสูง

ซึ่ง Nonactors นั้นจะเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กที่สุดในขณะที่กลุ่มที่เหลือนั้นมีขนาดใกล้เคียงกัน นักวิจัยได้ระบุปัจจัยผลักดันหลายแบบเพื่อตรวจหาเงื่อนไขปัจจัยของอารมณ์และแบ่งมันออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่

Prosocial Motive ซึ่งมีพฤติกรรมเอื้อประโยชน์ต่อสังคม มีแรงผลักดันอยากที่จะเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีและสร้างสัมพันธภาพการทำงานที่ดี

Impression Management Motive เป็นกลุ่มที่มีแผนทางยุทธศาสตร์มากกว่ารวมถึงการวางแผนเข้าถึงทรัพยากรหรือภาพลักษณ์ที่ทำให้ดูดีต่อหน้าเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย

ทีมวิจัยพบว่า Regulators นั้นมักจะถูกผลักดันด้วย Impression Management Motive ในขณะที่ Deep Actor มักจะมีนัยยะสำคัญกับ Prosocial มากกว่า นั่นหมายความว่า Deep Actor เลือกที่จะควบคุมอารมณ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมงานเพื่อให้ความสัมพันธ์ที่มีในงานนั้นออกมาดี ซึ่งมักจะต่อต้านแรงจูงใจที่มาจากการเข้าถึงทรัพยากรที่มากขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุด คือ Deep Actor ที่พยายามที่จะเป็นคนเชิงบวกกับเพื่อนร่วมงานด้วยเหตุผลแบบ Prosocial และแสวงหาผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านี้ จากรายงานพบว่าผลประโยชน์นั้นรวมถึงการสนับสนุนช่วยเหลืออย่างมากจากวงสังคมนั้น ๆ

แม้ Deep Actor มักถูกรายงานข้อมูลเกี่ยวกับระดับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานในเชิงบวก แต่จากข้อมูลงานวิจัยพบว่าผลประโยชน์เหล่านั้น คือ การได้รับสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานในระดับที่สูง เช่น การช่วยเรื่องภาระงานที่ล้นมือหรือการแนะนำต่าง ๆ นอกจากนี้ Deep Actor ยังมีการรายงานถึงความก้าวหน้าในการทำตามเป้าหมายงานอย่างรวดเร็วและเพื่อรวมงานนั้นให้ความเชื่อมั่นไว้ใจมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มที่เหลือ

แต่ในระยะยาวข้อมูลแสดงผลให้เห็นว่าการผสมผสานกันในระดับสูงระหว่างสภาพแสดงออกภายนอกและ Deep Acting นั้นส่งผลต่อความตึงเครียดของร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และความไม่ไว้วางใจต่อสิ่งรอบข้าง

แม้แนวคิด ‘Fake it until you make it’ นั้นเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นเทคนิคการเอาตัวรอดในที่ทำงาน เป็นวิธีง่าย ๆ ในการเอาตัวรอดระยะสั้น แต่ในระยะยาวมันจะกัดกินทั้งสุขภาพและความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ในท้ายที่สุดการทำดีและตรงไปตรงมาจะกลายเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่เพียงทำให้คนอื่นรู้สึกดีแต่จะรู้สึกดีกับตัวเองและทำให้ทำงานได้ดีรวมถึงมีความสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย

ที่มา:
Sciencedaily.com


Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Store Master - Kardex