Kosmo
ปลัดฯ ณัฐพล ปลื้ม จัดตั้ง ศูนย์ CATARC ในไทยสำเร็จ

ปลัดฯ ณัฐพล ปลื้ม จัดตั้ง ศูนย์ CATARC ในไทยสำเร็จ

Date Post
06.12.2023
Post Views

ปลัดฯ ณัฐพล ปลื้ม จัดตั้ง ศูนย์ CATARC ในไทยสำเร็จ กระตุ้นการวิจัยพัฒนายานยนต์แห่งอนาคต เสริมสมรรถนะเป้าหมายปั้น EV Hub 

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไปพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาป (ICE) โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ผ่านคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ พร้อมให้ความสำคัญกับการวางรากฐานของการวิจัยและพัฒนายานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศ 

โรงงานยุคใหม่ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง ?

รวมทั้งการกำหนดมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ดังนั้น หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน และหน่วยงานทดสอบและรับรอง ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เติบโต ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยียานยนต์จีน หรือ China Automotive Technology and Research Center (CATARC) สำนักงานสาขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือในการนำศักยภาพด้านการพัฒนานโยบาย การกำหนดมาตรฐาน และการรับรอง รวมทั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของจีนมาเชื่อมโยงในการพัฒนาอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ของประเทศไทย เพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของภูมิภาคอาเซียน และฐานการผลิตที่สำคัญของโลก

ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการ คือ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศในเวทีการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้สนับสนุนมาตรการส่งเสริมการใช้และการผลิต ยานยนต์สมัยใหม่ โดยเฉพาะมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หรือ มาตรการ EV3 ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วม 10 แบรนด์ มียอดจองรถยนต์ BEV ไปแล้วกว่า 50,000 คัน นอกจากนี้ได้ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการกำหนดมาตรฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้วกว่า 150 มาตรฐาน 

นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานของศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรและเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์สมัยใหม่ ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปี 2566 ประเทศไทยมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 78 ของปริมาณการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน และในปี 2565 ประเทศไทยมีการผลิตยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ xEV เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนประมาณ 72,000 คัน แสดงให้เห็นถึงกระแสการตอบรับของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์สมัยใหม่ ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ระดับแนวหน้าของประเทศจีนหลายค่ายได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สามารถแข่งขันได้ในอาเซียน และเวทีโลก

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียานยนต์จีน สำนักงานสาขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เป็นสาขาลำดับที่ 4 ต่อจากเยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีน รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างครบวงจร ทั้งด้านกำหนดนโยบาย ด้านวิจัยพัฒนา ด้านมาตรฐานและการทดสอบ ครอบคลุม ยานยนต์ทุกประเภท และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จนทำให้ยานยนต์ไฟฟ้าของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเป็นฐานการผลิตอันดับต้น ๆ ของโลก

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex