ภาคเอกชน เสนอ นายกฯ ช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม 4 แนวทาง

Date Post
20.07.2021
Post Views

ภาคเอกชน ผนึก กำลังช่วยผู้ประกอบการ  SMEs ให้อยู่รอด เตรียมยื่น 4 แนวทาง เสนอต่อนายกฯ ช่วยภาคธุรกิจไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย มีความเป็นห่วงผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังเผชิญปัญหาในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยได้เสนอแนวทางต่อภาครัฐไปแล้วหลายอย่างโดยเฉพาะด้านการเงิน แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 2 หน่วยงานมีความเห็นร่วมกันในการที่จะเสนอท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม 4 แนวทาง ดังนี้

คุณภาพของสินค้าใช้ “ตาเปล่า” ตรวจสอบไม่ได้ ใช้ Machine Vision ที่มี AI ตรวจสอบดีกว่า [Super Source]

1. ให้พิจารณาเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในช่วงนี้ได้มากขึ้น

2. พิจารณาให้ผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้สถาบันการเงินที่เข้าเกณฑ์ NPL ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดจนถึง 3 ปี นับจากสิ้นสุดช่วงโควิด ไม่มีประวัติข้อมูลที่บ่งบอกถึงประวัติการชำระหนี้หรือสินเชื่อใน Credit Bureau (บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)

3. ขอให้พิจารณาผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยกู้ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เขียนไว้ว่า “ให้สภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการที่ยังพอมีศักยภาพ” โดยให้เป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงิน ซึ่งการเข้มงวดกับคำว่าศักยภาพที่ยึดโยงกับรายได้ในอนาคตที่ไม่แน่นอนจากสถานการณ์วิกฤติไม่ปกติจะเป็นอุปสรรคลำดับแรก ที่สถาบันการเงินจะยังไม่พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็น NPLs จากผลกระทบของ COVID-19

4. ให้ความช่วยเหลือในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนด้านสาธารณสุข โดยการจัดหา Rapid Test ให้กับผู้ประกอบการ SMEs

นอกเหนือจากแนวทางข้างต้น นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินแนวทางเร่งด่วนในการช่วยเหลือ SME เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงโควิด  โดยเริ่มจากขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพให้ชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าบางส่วน  ขยายระยะเวลาเรียกเก็บหนี้  ลดระยะเวลาชำระหนี้  และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ลูกจ้าง/พนักงาน โดยจ่ายเงินเดือนทุก 15 วัน 

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียนเพื่อระดมความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำ Rescue Box สำหรับผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) และขอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มธุรกิจเพื่อประคองเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ ภาคส่งออก ภาคก่อสร้าง และโรงงานต่างๆ ด้วย”

สำหรับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งกองทุน ส.อ.ท. ช่วยไทยสู้ภัยโควิด-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนด้านสาธารณสุข ทั้งการจัดหา Rapid Test ให้กับผู้ประกอบการ SMEs และประชาชน, สร้างห้องความดันลบ, จัดหาวัคซีนเพิ่มเติมและสภาอุตสาหกรรมฯ ยังจะเข้าไปสนับสนุนโครงการ Rescue Box สำหรับผู้ป่วยโควิดของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยเพิ่มเติมโดยจัดหาสิ่งของที่จำเป็นและยาเข้าไปสมทบ หรือการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ภาคสาธารณสุขมีความจำเป็น 

นอกจากนี้ ยังหารือแนวทางความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ อาทิ การผลักดันโครงการ Faster Payment ให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะลดระยะเวลา Credit term ให้แก่คู่ค้าของบริษัทโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในระยะเวลา 30 วันต่อไปจนถึงสิ้นปี ความร่วมมือกันในการจัดทำสินเชื่อ Supply Chain Factoring เพื่อช่วย SMEs โดยจะหารือร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศด้วยการสนับสนุนสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียน Made in Thailand แล้วด้วย” 

นายสุพันธุ์  ยังบอกอีกว่า นอกจากนี้ ยังได้หารือกันถึงความร่วมมืออื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ ส่งเสริม SME ให้จัดทำบัญชีเดียว ผ่านการเสริมรากฐานทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ และเพิ่มศักยภาพ SME เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเติบโตระยะยาวซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องผ่าน LiVE Platform  การช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานจากสถานการณ์ COVID-19 และความร่วมมือในกองทุนนวัตกรรม 

โดยจะได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำรายละเอียดอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในมาตรการเร่งด่วนเพื่อให้ทันกับสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบัน แต่ในระยะยาวก็จะได้จัดทำแนวทางพัฒนาและช่วยเหลือ SMEs ด้านอื่นๆ เพิ่มเติม

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex