Store Master - Kardex
สมอ. คุม “หลอดไฟแอลอีดี” ต้องได้ มอก.
สมอ. คุม “หลอดไฟแอลอีดี” ต้องได้ มอก.

สมอ. คุม “หลอดไฟแอลอีดี” ต้องได้ มอก.

Date Post
28.03.2022
Post Views

สมอ. ควบคุมหลอดไฟแอลอีดี และยางหล่อดอกซ้ำสำหรับรถบรรทุก ต้องได้มาตรฐาน มอก. มีผลบังคับใช้ 29 มีนาคม 2565 และ 5 พฤษภาคม 2565 เตือนผู้ประกอบการทุกราย ก่อนทำ นำเข้า ต้องขออนุญาตจาก สมอ.  

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม และการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยกำหนดเป็นนโยบายสำคัญและได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ดำเนินการ เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินงานด้านการมาตรฐานของประเทศ ทั้งการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมและกำกับติดตามการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน 

“การดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐานของ สมอ. มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศ สามารถแข่งขันทางการค้าได้อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ซึ่งผมได้กำชับกับสมอ. ให้เร่งรัดดำเนินการ โดยเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนให้ประกาศเป็นสินค้าควบคุมเป็นอันดับแรก” นายสุริยะฯ กล่าว

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สมอ. ดำเนินงานตามนโยบายท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด โดยประกาศควบคุมสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนแล้วจำนวน 127 รายการ รวมถึงสินค้า 3 รายการ ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ ได้แก่  หลอดแอลอีดีเปลี่ยนทดแทนขั้วคู่  มอก.2779-2562  และหลอดแอลอีดีมีบัลลาสต์ในตัว มอก.2780-2562 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 และยางหล่อดอกซ้ำสำหรับรถบรรทุก รถบัส และรถพ่วง มอก.2979-2562 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 นี้ด้วย 

ร่วมพูดคุยกับ James Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง The VR Guys (VRG) บริษัทผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Virtual Reality (VR)

ซึ่งผู้ประกอบการทุกรายที่จะทำ หรือนำเข้าสินค้าดังกล่าว ต้องได้รับอนุญาตจาก สมอ. ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย โดยสินค้าทุกชิ้นจะต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับคู่กับ QR code  เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลผู้รับใบอนุญาตได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย ผู้ทำหรือนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน  2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำหน่ายสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และแสดงเครื่องหมายมาตรฐานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

นายบรรจง กล่าวว่า มาตรฐานหลอดแอลอีดีเปลี่ยนทดแทนขั้วคู่  ซึ่งโดยทั่วไปอาจเรียกว่า หลอดแอลอีดีชนิด T5, T8  หรือ หลอดแอลอีดีแบบยาว จะควบคุมเรื่องความปลอดภัยในขณะใช้งาน เพื่อป้องกันไฟรั่ว  ไฟดูด ควบคุมอุณหภูมิของขั้วหลอดในภาวะไฟฟ้าวิกฤติ และการติดไฟ เป็นต้น ขณะนี้มีผู้ยื่นขออนุญาตแล้วจำนวน 3 ราย เป็นผู้ทำ 1 ราย ผู้นำเข้า 2 ราย  

ส่วนมาตรฐานหลอดแอลอีดีมีบัลลาสต์ในตัว เช่น หลอดแอลอีดีแบบขั้วเกลียว จะควบคุมเรื่องความปลอดภัยในขณะใช้งาน เพื่อป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ความแข็งแรงของเกลียวหมุน การทนความร้อนได้ ซึ่งมีผู้ยื่นขออนุญาตแล้วจำนวน 7 ราย เป็นผู้ทำ 1 ราย  และผู้นำเข้า 6 ราย  

สำหรับมาตรฐานยางหล่อดอกซ้ำ จะมีผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤษภาคม 2565  เนื่องจากมีการนำยางล้อแบบสูบลมของรถบรรทุก รถบัส และรถพ่วง นำกลับมาหล่อดอกยางใหม่แล้ววางขายในท้องตลาด ซึ่งมีราคาถูกกว่ายางใหม่ค่อนข้างมาก จึงอาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อประชาชนในการนำไปใช้งาน 

แต่หลังจากที่ สมอ. ประกาศเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ยางหล่อดอกซ้ำเหล่านี้ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. ก่อนนำมาวางจำหน่าย โดยจะต้องผ่านการทดสอบความทนทานของยางล้อ ทดสอบสมรรถนะในการรับน้ำหนัก และความสามารถในการทำความเร็วได้ตามความเร็วสูงสุดที่ระบุในแต่ละประเภท ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ของสหประชาชาติ (UN Regulation No. 109) ครอบคลุมเฉพาะยางล้อสูบลมหล่อดอกซ้ำที่ถูกออกแบบสำหรับรถยนต์ 5 ประเภท ได้แก่

1. รถยนต์สำหรับขนส่งผู้โดยสาร มีที่นั่งมากกว่า 8 ที่นั่ง ไม่รวมคนขับ และมีน้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน

2. รถยนต์สำหรับขนส่งผู้โดยสาร มีที่นั่งมากกว่า 8 ที่นั่ง ไม่รวมคนขับ และมีน้ำหนักมากกว่า 5 ตัน

3. รถยนต์สี่ล้อขึ้นไปและใช้สำหรับขนส่งสินค้า

4. รถพ่วงที่มีน้ำหนักมากกว่า 3.5 ตัน แต่ไม่เกิน 10 ตัน

5. รถพ่วงที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 ตัน

“ขณะนี้มีผู้ทำในประเทศยื่นขออนุญาตแล้วจำนวน 20 ราย สมอ. จึงขอแจ้งไปยังผู้ประกอบการที่ทำสินค้าดังกล่าว ให้เตรียมตัวดำเนินการตามมาตรฐาน ทั้งที่ทำในประเทศ และนำเข้า เพราะท่านจะต้องขออนุญาตจาก สมอ. ก่อนทำหรือนำเข้า พร้อมทั้งให้เตรียมตัวยื่นขอใบอนุญาตก่อนวันที่มาตรฐานจะมีผลบังคับใช้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดต่อได้ที่ สมอ. หรือจะยื่นขอ มอก. ออนไลน์ผ่านระบบ E-license ได้ที่ https://itisi.go.th/e-license/ ตลอด 24 ชั่วโมง” นายบรรจง กล่าว

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์