ส.อ.ท. ชงรัฐ ลดหย่อนภาษีฯ พักชำระหนี้โรงงานที่ประสบอุทกภัย
ส.อ.ท. ชงรัฐ ลดหย่อนภาษีฯ พักชำระหนี้โรงงานที่ประสบอุทกภัย

ส.อ.ท. ชงรัฐ ลดหย่อนภาษีฯ พักชำระหนี้โรงงานที่ประสบอุทกภัย

Date Post
03.11.2022
Post Views

ส.อ.ท. ชงรัฐ ลดหย่อนภาษีฯ พักชำระหนี้ 6 เดือน ออก Soft loan ช่วยเหลือโรงงานที่ประสบอุทกภัย จี้รัฐเร่งเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำรับมือกับสถานการณ์ทั้งอุทกภัยและน้ำแล้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 22 ในเดือนตุลาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ” พบว่า จากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มีความกังวลต่อสถานการณ์น้ำและผลกระทบจากอุทกภัยในปี 2565 ในระดับปานกลาง และมองว่า การที่ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการน้ำเชิงพื้นที่ไม่เพียงพอ เช่น อ่างเก็บน้ำ ฟลัดเวย์ ประตูระบายน้ำ เป็นต้น ประกอบกับการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมซ้ำซากในหลายพื้นที่จนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและทำให้ภาคธุรกิจได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

ถึงมือลูกค้าอย่างมีคุณภาพ ด้วยวิธีตรวจสอบการผลิตของ AI | FactoryNews ep.25/2

ผู้บริหาร ส.อ.ท. จึงเสนอขอให้ภาครัฐมีการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยขอให้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ เช่น ฟลัดเวย์ โครงการแก้มลิง อ่างเก็บน้ำ เขื่อน เป็นต้น รวมทั้งมีการบูรณาการปรับปรุงผังเมือง ผังน้ำทั่วประเทศ และแก้ปัญหาสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคตและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ในส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2565 ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ อยากให้ภาครัฐออกมาตรการให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์และเครื่องจักรไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 100% 

รวมทั้งออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูผู้ประกอบการจากอุทกภัย โดยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% และมีการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งนี้ในปี 2566 ผู้บริหาร ส.อ.ท. มีความกังวลต่อความเสี่ยงในการเกิดปัญหาอุทกภัยมากกว่าปัญหาน้ำแล้ง ซึ่งทั้ง 2 ปัญหา เป็นการบ้านที่สำคัญของรัฐบาลที่จะต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ทั้งอุทกภัยและน้ำแล้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Digitech2024