เออาร์วี ร่วมกับ ซัมซุง ส่งหลากโซลูชันช่วยอัพเกรดเกษตรกรไทยก้าวสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ พร้อมเผยแผนปั้น 3 ดีพเทค ส่งตรงถึงแปลงเกษตรทุกพื้นที่
นายธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า เออาร์วีให้ความสำคัญกับธุรกิจในภาคเกษตร ซึ่งเป็นธุรกิจพื้นฐานที่สำคัญของประเทศไทยเป็นอย่างมาก และได้มีการติดตามการทำการเกษตรในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้พบว่าเกษตรกรไทยได้สรรหาแนวทางในการปรับปรุงระบบการเพาะปลูก และเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองอย่างมากคืออากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน แพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน ต่อเนื่องถึงระบบ AI เพื่อทำการวิเคราะห์และคาดเดาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการปั้นสตาร์ทอัพ (AgTech Startup) และเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech: ดีพเทค) ด้านการเกษตร โดยนับเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยสร้างมูลค่า ความเชื่อมั่นให้กับกับอุตสาหกรรมการเกษตรไทยให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
Vacon อินเวอร์เตอร์พร้อม PLC ในตัว | ทนทาน และสนับสนุน Preventive Maintenance [Super Source]
เพื่อตอบสนองกับความต้องการด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น ในปีนี้ บริษัทฯ จึงได้ดำเนินโปรเจกต์ ARV x Samsung CSR Collaboration Project ร่วมกับ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด และการบริหารจัดการแปลงเกษตร ผ่านการใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ซึ่งมีจุดเด่นทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำที่มีความแม่นยำ ทั่วถึง สามารถเก็บข้อมูลจากพื้นที่ผ่านภาพถ่ายเพื่อนำมาวิเคราะห์แผนในการปรับปรุงการเพาะปลูกได้ ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชัน “VARUN” ซึ่งเป็นแอปฯ เพื่อให้เกษตรกรสามารถออกแบบการทำแปลงเกษตรได้ด้วยตัวเอง และติดตามปัญหา การเจริญเติบโตของพืชได้แบบเรียลไทม์
ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาแอปฯ ขึ้นบนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ จึงเป็นเหตุผลที่เออาร์วีร่วมมือกับซัมซุงในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อให้เกษตรกรทั่วประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการเกษตรได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยนำร่องผลักดันสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในพื้นที่ไร่แสนสุขคาเฟ่ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวจำนวน 33 ไร่
นายธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า เออาร์วียังคงมุ่งนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเกษตรกรให้มีศักยภาพในการสร้างประสิทธิภาพผลผลิตและการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปลายปี 2564 – ปี 2565 ได้วางแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ DeepTech เพื่อลดปัญหาให้เกษตรกร 3 รูปแบบ ได้แก่
- ปตท.สผ.- เออาร์วี ลงนาม MOU หนุน จุฬาฯ-ใบยา
- เออาร์วี ผนึก โรโตเทค พัฒนาหุ่นยนต์ตรวจสอบท่อแนวตั้งเครื่องแรกของโลก
- ไทยคม จับมือ เออาร์วี จัดตั้งบริษัทร่วมทุน
• เทคโนโลยีเพื่อลดการใช้แรงงานมนุษย์ในการทำเกษตรกรรม เนื่องจากในปัจจุบันแรงงานในกลุ่มดังกล่าวเริ่มมีจำนวนน้อยลง โดยเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ต่ำ เกษตรกรที่ประกอบธุรกิจตั้งแต่ในอดีตเริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัย รวมถึงค่าตอบแทนที่แพงขึ้นเนื่องด้วยภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยตัวอย่างของกลุ่มเทคโนโลยีด้านนี้ อาทิ อากาศยานไร้คนขับ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติที่สามารถทำงานได้แทนมนุษย์ ฯลฯ
• เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการพืช เนื่องด้วยความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ที่ทำให้การทำเกษตรแบบดั้งเดิมนั้นควบคุมได้ยากขึ้น โดยยังครอบคลุมถึงการจัดการแมลง และโรคพืชใหม่ ๆ ที่อุบัติขึ้นในพื้นที่ทางการเกษตรในแต่ละภูมิภาค ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ช่วยเกษตรกรในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ ลดการคาดเดา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
• การจับคู่เกษตรกร และผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการทางการเกษตร การเข้ามาของเทคโนโลยีถือเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันให้บริการต่าง ๆ เข้าไปอยู่ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันได้เกิดบริการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นทั้งเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันเพิ่มมากขึ้น เช่น แอปฯ จองรถเกี่ยวข้าว เว็บไซต์ด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ฯลฯ โดยในส่วนของเออาร์วีได้เล็งเห็นถึงการเติบโตของเทคโนโลยีเพื่อการบริการเกษตรกร จึงได้ริเริ่มพัฒนาระบบการจับคู่เกษตรกร และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเกษตรในแต่ละด้าน โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจ และปูทางผู้เชี่ยวชาญด้านดังกล่าวให้มีปริมาณมากขึ้น
นายธนา กล่าวว่า ปัจจุบัน เออาร์วีมีการพัฒนาโซลูชันเพื่อการเกษตรอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอากาศไร้คนขับ หรือโดรน เทคโนโลยีที่ออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์โดยคนไทย มุ่งเสริมประสิทธิภาพ มีความสามารถเฉพาะตัวและจุดเด่นทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำที่มีความแม่นยำและสามารถเก็บข้อมูลจากพื้นที่ผ่านภาพถ่ายเพื่อนำมาวิเคราะห์แผนในการปรับปรุงการเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแอปพลิเคชัน “วรุณ (VARUN)”
ซึ่งเป็นแอปฯ ที่ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่และติดตามกิจกรรมบนแปลงเกษตร โดยในปัจจุบันแอป VARUN มีฟีเจอร์หลักคือ การวาดแปลง การกรอกและติดตามกิจกรรมบนพื้นที่รายแปลง รวมถึงการแจ้งเตือนกิจกรรมตามเวลาที่เหมาะสม และการแชร์ข้อมูลแปลง และ Varuna Service Matching ซึ่งเป็นระบบจับคู่เกษตรกรเเละนักบินโดรนเกษตรเพื่อให้บริการฉีดพ่นแปลงเกษตรทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยมีความมุ่งหวังในการลดอุปสรรคการหานักบินโดรนมาฉีดพ่นแปลงเกษตรเมื่อต้องการ อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องของคุณภาพงาน เพราะทาง “วรุณา (VARUNA)” ได้คัดนักบินโดรนเกษตรที่มีคุณภาพไว้ในระบบ รวมไปถึงแผนการเพิ่มความรู้ให้เกษตรกรเรื่องการบินโดรนเกษตร เพื่อช่วยกระจายความรู้ ความปลอดภัยในการบิน และช่วยสร้างอาชีพเสริมอีกด้วย