Store Master - Kardex
กก.วล. ไฟเขียว โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน -โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี
กก.วล. ไฟเขียว โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน -โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี

กก.วล. ไฟเขียว โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน -โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี

Date Post
23.09.2021
Post Views

กฟผ. เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 และโครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 หลังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) มีมติเห็นชอบทั้ง 2 โครงการฯ 

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) โดยมี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Automation Expo

 โดยหลังจากนี้ กฟผ. จะปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด พร้อมเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยช่วงการก่อสร้างโครงการฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการฯ

Review | เครื่องชั่งบรรจุถุง TFFS (Tubular Form Fill and Seal) [Super Source]

สำหรับ โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 และโครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 เป็นโครงการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) โดยโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 600 เมกกะวัตต์ มีแผนจ่ายไฟเข้าสู่ระบบในปี 2569 เพื่อช่วยรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคเหนือ ทดแทนกำลังผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะเดิมที่จะถูกปลดออกจากระบบเนื่องจากหมดอายุการใช้งาน และโครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 1,400 เมกกะวัตต์ มีแผนจ่ายไฟเข้าสู่ระบบ ชุดที่ 1 ในปี 2570 และชุดที่ 2 ในปี 2572 เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าภาคใต้ รองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคใต้ 

โดยทั้งสองโครงการมีแผนที่จะก่อสร้างบนพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม เนื่องจากมีความพร้อมของระบบส่งไฟฟ้าจึงช่วยลดการลงทุนก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า ทำให้ไม่เพิ่มต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ช่วยรักษาเสถียรภาพระบบไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศให้ขยายตัว ช่วยสร้างอาชีพและรายได้ ทำให้เกิดการจ้างงานคนท้องถิ่น ชุมชนยังได้รับงบประมาณพัฒนาชุมชนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อนำไปพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา การส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 กฟผ. เตรียมจัดส่งรายงาน EHIA เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการขออนุมัติโครงการ โดยคาดว่าจะเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายในเดือนธันวาคม 2564

“กฟผ. ยังมีแผนมุ่งสู่คาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 2,455 เมกกะวัตต์ จะทยอยปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะเดิมลง เมื่อถึงปี 2569 จะเหลือโรงไฟฟ้าแม่เมาะเพียง 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 1,315 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าในโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริด (Hydro-floating solar hybrid) ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ปัจจุบันมีกำลังผลิต 45 เมกกะวัตต์ ณ เขื่อนสิรินธร โดยจะเพิ่มในเขื่อนต่างๆ จนครบ 2,725 เมกกะวัตต์ ตามแผน พร้อมรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในอนาคต” นายประเสริฐศักดิ์  กล่าว

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Automation Expo