Kosmo
กนอ.เซ็นต์สัญญาเอกชนซื้อน้ำดิบภาคอุตสาหกรรม

กนอ.เซ็นต์สัญญาเอกชนซื้อน้ำดิบภาคอุตสาหกรรม

Date Post
01.09.2021
Post Views

กนอ.ลงนามกับบริษัท วาย. เอส. เอส. พี. แอกกริเกต จำกัด ในสัญญาซื้อขายน้ำดิบสำหรับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง รองรับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า การลงนามในสัญญาซื้อขายน้ำดิบระหว่าง กนอ.และบริษัท วาย. เอส. เอส.พี.แอกกริเกต จำกัด ในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านน้ำในภาคอุตสาหกรรม และรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำให้กับนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการน้ำในเขตพื้นที่อีอีซีนั้นพบว่า ต้นทุนน้ำรวมของน้ำปัจจุบันมีปริมาณเท่ากับ 1,537.59 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีปริมาณความต้องการน้ำรวมทั้งหมดสูงถึง 2,190.98 ล้านลูกบาศก์เมตร 

ครบวงจร! วิเคราะห์และทดสอบชิ้นงานตัวอย่างครบทุกโซลูชั่นที่ Coax Technical Center [SuperSource]

โดยเป็นความต้องการภาคอุตสาหกรรมเท่ากับ 625.31 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ จากการพยากรณ์ความต้องการน้ำในอนาคตจะเท่ากับ 2,481.31 / 2,615.63 และ 2,722.79 ล้านลูกบาศก์เมตร ในระยะ 5 ปี 10 ปี และ 20 ปีข้างหน้าตามลำดับ แสดงถึงความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในอนาคต ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณารายจังหวัดจะเห็นว่า จังหวัดชลบุรี ปริมาณความต้องการน้ำภาคอุตสาหกรรมมีจำนวน 247.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนของจังหวัดมีเพียง 291.63 ล้านลูกบาศก์เมตร และจังหวัดระยอง ปริมาณความต้องการน้ำภาคอุตสาหกรรมมีจำนวน 307.3 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่ปริมาณน้ำต้นทุนของจังหวัดมีเพียง 757.77 ล้านลูกบาศก์เมตร 

ซึ่งจากกรณีดังกล่าว กนอ.จึงจำเป็นต้องหาแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อให้กระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม

ปัจจุบันนิคมฯ ทั้ง 2 แห่ง มีผู้ประกอบการโรงงานเปิดดำเนินการแล้วกว่า 300 โรงงาน แบ่งเป็นนิคมฯ แหลมฉบัง 221 โรง และนิคมฯ มาบตาพุด 82 โรง ซึ่งในปี 2564 ปริมาณการใช้น้ำสำหรับนิคมฯ แหลมฉบัง มีปริมาณการใช้น้ำประมาณ 740,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน (เฉลี่ยอยู่ที่ 24,500 ลูกบาศก์เมตร/วัน) และนิคมฯ มาบตาพุด มีปริมาณการใช้น้ำประมาณ 6,400,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน (อยู่ที่ 213,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) ซึ่งจากปริมาณการใช้น้ำที่มีปริมาณค่อนข้างสูงจึงจำเป็นต้องสรรหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมฯ 

ขณะเดียวกันยังเป็นการป้องกันการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งที่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของการลงนามในสัญญาซื้อขายน้ำดิบในวันนี้ (1 ก.ย.64) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการในการบริหารจัดการด้านน้ำของ กนอ. เพื่อให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่สะดุด ขณะเดียวกันยังรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังในปัจจุบัน มาจากบริษัท EAST Water จำกัด(มหาชน) โดยจ่ายน้ำจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 80% และจากอ่างหนองค้อหรืออ่างบางพระ 20% ขณะที่แหล่งน้ำดิบของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มาจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ โดยการจ่ายน้ำของบริษัท EAST Water เช่นกัน ซึ่งการสรรหาแหล่งน้ำดิบเพิ่มเติมในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นคงในการบริหารจัดการในการจ่ายน้ำประปาให้แก่ผู้ประกอบการและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก

สำหรับบริษัท วาย. เอส. เอส.พี.แอกกริเกต จำกัด มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพและมีความสามารถจ่ายน้ำให้กับนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. ได้ในราคาที่เหมาะสม โดยบริษัทฯ จะดำเนินการจัดหาและจ่ายน้ำดิบให้กับ กนอ. เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำสำหรับนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในปริมาณไม่น้อยกว่า 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในปริมาณไม่น้อยกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์