กนอ.เดินหน้า 3 กลไก สร้าง Eco-Efficiency

กนอ.เดินหน้า 3 กลไก สร้าง Eco-Efficiency

Date Post
06.08.2020
Post Views

กนอ. เดินหน้าโครงการประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco–Efficiency ตามแนวปฏิบัติที่ดี ISO 14045(มาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม) ผ่าน 3 กลไกหลัก 

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กนอ.เพื่อมุ่งเป้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยกำหนดให้มีการดำเนินงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-Efficiency ตามแนวปฏิบัติ ISO 14045      ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการบริโภคทรัพยากร หมายรวมถึง ลดการใช้วัตถุดิบตั้งต้นในการผลิต เช่น พลังงาน และน้ำ ส่งเสริมการใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ของผลิตภัณฑ์   ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  ลดการปล่อยของเสีย ได้แก่  น้ำเสีย อากาศเสีย ขยะ และสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม เพิ่มผลิตภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการสูงสุด โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติน้อยที่สุด

กนอ.ใช้หลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) มาบริหารจัดการองค์กรให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมบนแนวคิด“การพัฒนาที่ยั่งยืน”โดยนำร่องการดำเนินงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง 12 แห่ง ท่าเรืออุตสาหกรรม 1 แห่ง รวมทั้ง กนอ.สำนักงานใหญ่ โดยปรับปรุงการให้บริการสาธารณูปโภค โดยพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรูปการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและเพิ่มค่า Eco-Efficiency ของ กนอ.

“การประเมินค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของ กนอ.ประเมินจากการวิเคราะห์สัดส่วนระหว่างรายได้จากการให้บริการสาธารณูปโภค (หน่วยเป็นบาท) ต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในรูปก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการให้บริการสาธารณูปโภค (kg CO2e)จากนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง โดยในปี 62 พบว่าค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ(Eco-efficiency) ของนิคมอุตสาหกรรมสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด มีค่าเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในนิคมอุตสาหกรรมลดลงจากการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นหลอดประหยัดพลังงาน การติดตั้งระบบควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปั๊มสูบจ่ายน้ำประปา นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อีกด้วย”นางสาวสมจิณณ์ พิลึก กล่าว

แนวคิดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ริเริ่มโดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD) ที่ได้กำหนดแนวทางให้การประกอบการด้านธุรกิจประสบความสำเร็จในเชิงนิเวศเศรษฐกิจ 7 ประการด้วยกัน ประกอบด้วย 1) ลดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบในการผลิต และการบริการ 2) ลดการใช้พลังงานในการผลิต และการบริการ 3) ลดการระบายสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม 4) เสริมสร้างศักยภาพการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ 5) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน 6) เพิ่มอายุของผลิตภัณฑ์ และ7) เพิ่มระดับการให้บริการแก่ผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างธุรกิจบริการ

“กนอ.นำหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมาใช้กับทุกนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านศักยภาพการผลิตและการบริการ ตอบสนองความต้องการของประชาชนและนำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยที่การแข่งขันนั้นจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศ ภายใต้แนวคิดการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และบริการให้มากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการเกิดของเสียหรือมลภาวะให้น้อยลง”ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวปิดท้าย.

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Digitech2024