Kosmo
เผยแผนแม่บทปี’66
เผยแผนแม่บทปี’66

กนอ.เผยแผนแม่บทปี’66 ลุยปั้น ท่าเรือบก รองรับฮับโลจิสติกส์ในภูมิภาค

Date Post
15.08.2022
Post Views

กนอ. เปิดแผนแม่บทพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และ ท่าเรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะ เล็งยกระดับระบบสาธาณูปโภค (IEAT4.0) เตรียมปั้น “ท่าเรือบก (Dry Port)” เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค 

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการผลิตน้ำจืดจากทะเล และการบริหารจัดการท่าเรือ ณ ประเทศสเปน ร่วมกับนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการ กนอ. และคณะกรรมการ กนอ. โดยมีภารกิจใน 3 ประเด็นหลัก คือ การเยี่ยมชมท่าเรือบาเลนเซีย เยี่ยมชมระบบการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการบริหารจัดการท่าเรือบก และระบบการขนส่งแบบ multimodal

สำหรับท่าเรือบาเลนเซีย อยู่ภายใต้การบริหารของการท่าเรือเมืองบาเลนเซีย เป็น 1 ในท่าเรือยุโรปที่มีปริมาณการขนส่งมากที่สุด และติดอันดับ Top 20 ในปี 2021 จากการประเมินของ World Connectivity Index  (CGI) โดยการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) และเป็นท่าเรือที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม Port Community System (PCS) หรือระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูลด้านขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้บริหารจัดการท่าเรือในรูปแบบ Smart Port เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแบบลดการใช้เอกสาร (Paperless) และเป็น One Stop Point สำหรับผู้ใช้บริการ 

10 วิศวกรที่ยิ่งใหญ่ (ที่สุด) ตลอดกาล | Industry of Things EP. 5

รวมทั้งยังมียุทธศาสตร์ลดการปลดปล่อยคาร์บอน (Zero Emissions) ภายในปี 2030 ด้วยการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ (Digital Transformation) 

“ท่าเรือบาเลนเซีย ถือว่าสอดคล้องกับภารกิจของ กนอ.ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 เพื่อรองรับการขนส่งก๊าซ NGV และสินค้าเหลว ตลอดจนการประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ กนอ.จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากท่าเรือบาเลนเซีย มาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Smart and Carbon Neutral Industrial Port) ตามเป้ายุทธศาสตร์ปี 2566 ที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านสาธารณูปโภค (IEAT4.0) และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ให้บริการและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งแผนแม่บทนี้จะนำไปใช้ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) เป็นพื้นที่นำร่อง รวมถึงเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมโดยใช้ข้อมูล (Data Driven Management) ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศไทย เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม” นายวีริศ กล่าว

ขณะเดียวกันยังได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาคมการผลิตน้ำจืดจากทะเล และการนำน้ำกลับมาใช้แห่งสเปน (La Asociacion Espanola de Desalacion y Reutilizacion – AEDyR) เพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการคัดเลือกพื้นที่ตั้งระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล อัตรากำลังการผลิตที่เหมาะสม การคัดเลือกเทคโนโลยี ผลกระทบการระบายน้ำทิ้ง และการศึกษาในเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และการลงทุน 

ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ EEC สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น พบว่า กระบวนการ RO หรือ Reverse Osmosis ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนน้ำทะเลผ่านสู่ระบบเยื่อกรองด้วยแรงดันสูง เป็นกระบวนที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถใช้ร่วมกับพลังงานทางเลือกได้ และมีความยั่งยืนมากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาจนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) และค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ต่ำกว่ากระบวนการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงที่เหมาะสมสำหรับตั้งโรงผลิตน้ำจืดจากทะเล อยู่บริเวณพื้นที่มาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 

นอกจากนี้ ยังประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการบริหารจัดการท่าเรือบกและระบบการขนส่งแบบ multimodal ในบริเวณเขตอุตสาหกรรมที่เป็นศูนย์กลางระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อนำรูปแบบมาปรับใช้ในการดำเนินการก่อสร้างและให้บริการท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากเล็งเห็นประสิทธิภาพการให้บริการของท่าเรือบก (Dry Port) ของสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบท่าเรือบกเพื่อสนับสนุนการเป็นโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง โดยการอำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งระหว่างประเทศด้วยการลดภาระงานของท่าเรือทางทะเล และให้บริการด้านการขนส่งด้วยระบบรางหรือถนนที่มีประสิทธิภาพสูง

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์