กนอ.-JICA โชว์ผลสำเร็จนวัตกรรม“New Pla-kun” โครงสร้างพลาสติกกักเก็บน้ำฝนใต้ดิน แก้ปัญหาอุทกภัย นำร่องนิคมฯ ลาดกระบัง เล็งขยายผลสู่นิคมฯ ตั้งใหม่
กนอ. ผนึกกำลัง JICA และบริษัท ชิชิบุ เคมิคัล จำกัด โชว์ผลสำเร็จนวัตกรรม “New Pla-kun” ซึ่งเป็นโครงสร้างพลาสติกกักเก็บน้ำฝน (Plastic Rainwater Storage Structure : PRSS) นำร่องนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังเป็นแห่งแรก เล็งขยายผลสู่นิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งใหม่ พร้อมพิจารณาความสอดคล้องกับข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ของ กนอ. เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ
อะไรคือหัวใจสำคัญของงาน ชั่ง-บรรจุ คำตอบทั้งหมดอยู่ในคลิปนี้ | Premier Tech [Teaser]
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ กนอ.ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Chief Representative of Japan International Cooperation Agency Thailand Office หรือ JICA) และบริษัท ชิชิบุ เคมิคัล จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่น ดำเนินโครงการสาธิตนำร่องเพื่อการวิจัยก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำฝนใต้ดินด้วยโครงสร้างพลาสติกกักเก็บน้ำฝน (Plastic Rainwater Storage Structure : PRSS) โดยจัดทำโครงการนำร่องแห่งแรกที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังมาตั้งแต่ปี 2562 โดยปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จและทดลองระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ระบบ New Pla-kun (นิวปากุน) เป็นระบบการเก็บน้ำใต้ดินซึ่งถือเป็นนวัตกรรม (Innovation) ที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายๆ พื้นที่ที่เป็นที่ว่างในนิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงาน และที่อยู่อาศัยทั่วไป โดยระบบดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากอุทกภัยด้วยการจัดเก็บน้ำฝนลงสู่ Media ในชั้นใต้ดินที่ทำจากโครงสร้างพลาสติกรีไซเคิลนำ้หนักเบาเพื่อกักเก็บน้ำฝน มีลักษณะเป็นแผงติดตั้งไว้ใต้ดิน สามารถเพิ่มจำนวนชั้นได้สูงสุด 10 ชั้น ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้มากกว่า 95% ของนำ้หนัก New Pla-kun (นิวปากุน) โดยไม่ทำลายวัฏจักรของน้ำ และมีอายุใช้งานนานถึง 50 ปี
- กนอ.ชวนเอกชนร่วมพัฒนานิคมอุตสาหกรรม 5 จังหวัด
- กนอ.เร่งศึกษาแนวทางจัดตั้งนิคมฯ ราชทัณฑ์
- กนอ. ชู 4 ปัจจัยพัฒนาอุตสาหกรรม สู่ Smart Eco
- กนอ.เซ็นต์สัญญาตั้งนิคมฯ “เอเพ็กซ์กรีน” ในพื้นที่อีอีซี
โดยโครงสร้าง Plastic Rainwater Storage Structure หรือ PRSS แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการทำงาน คือ 1. โครงสร้างจัดเก็บแบบซึมน้ำ เมื่อน้ำฝนถูกเก็บไว้ภายใน จะค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปในชั้นพื้นดิน สามารถช่วยเติมน้ำใต้ดินแก่พื้นที่ที่มีปัญหาดินทรุดจากการขุดเจาะน้ำบาดาล และชะลอการทรุดลงของพื้นดิน และ 2.โครงสร้างจัดเก็บแบบไม่ซึมซับน้ำ นอกจากจะสามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ภายในช่วยป้องกันน้ำท่วมได้แล้ว ยังสามารถนำน้ำฝนใต้ดินเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย เช่น รดน้ำต้นไม้ ซักล้าง ฯลฯ สำหรับการติดตั้งโครงสร้าง PRSS ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นบ่อหน่วงน้ำป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังเป็นหลัก สามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ใต้ดินได้มากถึง 300 ลูกบาศก์เมตร และจะค่อยๆ ปล่อยน้ำออกผ่านท่อระบายน้ำในภายหลัง
“ระบบ New Pla-kun เป็นระบบที่น่าสนใจ และสามารถใช้งานได้ผลเป็นอย่างดีในแปลงสาธิตของนิคมฯ ลาดกระบัง ทั้งนี้ การนำไปประยุกต์ใช้จริงในนิคมฯ ต่างๆ คงต้องพิจารณาด้วยว่า นิคมฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่นั้นสามารถออกแบบและนำระบบ New Pla-kun ไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ เช่น อาคารจอดรถ หรือพื้นที่ของโรงงานในส่วนที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมากได้หรือไม่ รวมถึงคงต้องมีการหารือกันเพิ่มเติมในส่วนของข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ของ กนอ.ด้วยว่า มีแนวทางสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรต่อไปในอนาคต”นายวีริศ กล่าว