iscar
“กฟภ.” นำร่อง สมาร์ทกริด เมืองพัทยา 1.2 แสนราย

“กฟภ.” นำร่อง สมาร์ทกริด เมืองพัทยา 1.2 แสนราย

Date Post
27.04.2020
Post Views

กฟภ. นำร่อง นำสมาร์ทกริดใช้บริหารจัดการระบบไฟฟ้า เมืองพัทยา ติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย 120,000 ราย

“กฟภ.” นำร่อง สมาร์ทกริด เมืองพัทยา 1.2 แสนราย

นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยว่า กฟภ.ได้นำโครงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) มาใช้ในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการผลิต การส่ง และการจำหน่ายพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนำร่องทำ Smart Grid ที่เมืองพัทยา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัยประมาณ 120,000 ราย

Intelligent Asia Thailand 2025

ทั้งนี้ จะมีการเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ โดยกฟภ.ได้มีการพัฒนาระบบ เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ไฟได้ทราบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ และสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ไปบริหารจัดการ วางแผนการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประหยัดค่าพลังงานได้ในอนาคต

นอกจากระบบมิเตอร์อัจฉริยะแล้ว กฟภ. ยังได้ติดตั้งระบบ Smart Substation ด้วย ระบบนี้จะทำให้การจัดการระบบไฟฟ้าในพื้นที่พัทยามีความรวดเร็ว ลดระยะ เวลาการดับของไฟฟ้าให้น้อยลง และยังทำให้สามารถใช้ประโยชน์ของจากสถานีไฟฟ้า สายไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยืดอายุการใช้งาน รวมทั้งชะลอการลงทุนด้านสถานีไฟฟ้า สายไฟฟ้าลงได้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าที่จะไม่เพิ่มสูงขึ้นเหมือนอย่างในอดีต และแก้ปัญหาไฟฟ้าดับให้น้อยลง

“ขณะเดียวกัน กฟภ. อาจจะให้เอกชนร่วมลงทุนในการติดตั้งระบบ Smart Grid ในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) ซึ่งอาจจะกำหนดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนติดตั้ง ดูแล และบำรุงรักษา ระบบมิเตอร์อัจฉริยะหรือ AMI”นายสมพงษ์ กล่าว

ด้านนายเสกสรร เสริมพงศ์ รองผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า กฟภ. กล่าวเสริมว่า การนำระบบ Smart Grid มาใช้ จะทำให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าของตัวเองได้ ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ และกรณีเกิดไฟฟ้าดับ กฟภ. จะสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้กฟภ.ลดจำนวนหน่วยสูญเสีย แก้ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็วขึ้น เช่น พื้นที่ไหนรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า ก็สามารถตัดไฟในพื้นที่ที่มีปัญหาออก และก็ใช้วงจรข้างเคียงมาจ่ายไฟแทนแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะสามารถบริหารจัดการระบบไฟฟ้าให้มีการใช้งานได้เต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ประเทศก็สามารถวางแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ สามารถลดโรงไฟฟ้าประเภท Peaking Plant ทำให้สามารถ สร้างสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นายเสกสรร กล่าวอีกว่า ในอนาคตก็จะมีรถไฟฟ้า (EV) ซึ่งหากรถไฟฟ้ามีการชาร์จไฟฟ้ารวมกันเป็นจำนวนมาก ๆ จะกระทบต่อระบบไฟฟ้าอย่างแน่นอน กฟภ.ตระหนักถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี และได้เตรียมจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับไว้ระดับหนึ่งแล้ว ระบบ Smart Grid ซึ่งมี Smart Meter จะสามารถลดปัญหานี้ได้ ตัวอย่างเช่น จะมีการเตรียมระบบบริหารจัดการ การชาร์จ จัดระยะเวลาการชาร์จให้เหมาะสม โดยไม่กระทบกับความจำเป็นในการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือกระทบน้อยที่สุด

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Intelligent Asia Thailand 2025