iscar
กรอ. ชี้แจง วิกฤตคุณภาพอากาศค่า "NOx gas" สารก่อมะเร็ง
กรอ. ชี้แจง วิกฤตคุณภาพอากาศค่า "NOx gas" สารก่อมะเร็ง

กรอ. ชี้แจง วิกฤตคุณภาพอากาศค่า “NOx gas” สารก่อมะเร็ง

Date Post
25.10.2021
Post Views

กรอ. แจงมี กม. กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน และ เตรียมออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษอากาศเพิ่มเติม ในปี 2565

กรอ. ชี้แจง วิกฤตคุณภาพอากาศค่า "NOx gas" สารก่อมะเร็ง

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการรายงานข่าว เตือนวิกฤตคุณภาพอากาศค่า “NOx gas” สารก่อมะเร็งท่วม กทม.-ปริมณฑล ที่ระบุว่าโรงงานในเขตสมุทรปราการ และระยองเป็นต้นเหตุในการปล่อยมลพิษแบบผิดกฎหมาย  ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องระบายแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring System : CEMS) ที่เชื่อมโยงข้อมูลมายัง กรอ. ตลอด 24 ชั่วโมง มีจำนวนทั้งสิ้น 86 โรงงาน 226 ปล่อง ซึ่งติดตั้งในโรงงานภาคตะวันออกจำนวน 79 ปล่อง และภาคกลางจำนวน 86 ปล่อง พบว่าค่า NOx ที่ระบายจากปล่องมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงกำหนด คือต่ำกว่า 400 ppm (Part Per Million : ppm หมายถึง ส่วนของปริมาณก๊าซพิษในปริมาณของอากาศล้านส่วน) โดยค่าเฉลี่ยตลอดปีมีค่า NOx สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 39.75 ของค่ามาตรฐาน (ต่ำกว่าค่ามาตรฐานประมาณ 2.5 เท่า)

Automation Expo

เลือกใบเลื่อยอย่างไร? ให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ | Pacific Mercury [Super Source]

​Nitrogen Oxide (NOx) ไนโตรเจนออกไซด์ หรือกลุ่มก๊าซที่มีความไว (Highly reactive gases) เป็นก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่นๆ ในอากาศ จะเห็นเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง กระบวนการหลักที่ก่อให้เกิดออกไซด์ของไนโตรเจน มาจากกระบวนการเผาไหม้ ได้แก่ เชื้อเพลิงที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น เชื้อเพลิงฟอสซิลและเชื้อเพลิงชีวมวล และการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,100 องศาเซลเซียส กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรฐานการระบาย NOx จากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงและจากการประกอบกิจการโรงงาน (โรงงานทุกประเภท) รวมถึงมีการกำหนดค่ามาตรฐานการระบาย NOx เฉพาะประเภทอุตสาหกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีการผลิต วิธีการควบคุมมลพิษ และลักษณะการประกอบกิจการ เช่น โรงไฟฟ้า โรงปูนซีเมนต์ โรงผลิตแก้ว โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

ทั้งนี้ กรอ. ดำเนินการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2565 จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศบังคับใช้เพิ่มเติม ดังนี้ 

1. กำหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ โดยจะให้โรงงานเป้าหมายที่มีขนาดและการใช้ประเภทเชื้อเพลิงตามที่กำหนด ทั่วประเทศส่งข้อมูลผลการตรวจวัดการระบายมลพิษให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยแสดงผลข้อมูลจากการตรวจวัดนี้ผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าติดตามผลการควบคุมการระบายมลพิษของโรงงานได้ตลอดเวลา 

2. กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมายต้องประเมินตนเองและรายงานปริมาณการระบายสารมลพิษ ซึ่ง NOx เป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่โรงงานต้องทำการรายงานด้วยหากมีการปลดปล่อยก๊าซดังกล่าว 3. ปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษอากาศจากโรงไฟฟ้า เพื่อควบคุมการระบายสารมลพิษหลัก คือ ฝุ่นละออง SO2  และ NOx ให้เข้มงวดขึ้น โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ กรอ. ดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลดการเผาไหม้ โดยการนำความร้อนที่เหลือทิ้งจากการเผาไหม้มาใช้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยลดการระบาย CO2 แล้ว ยังลดการระบาย NOx ฝุ่นละออง และสารมลพิษอื่นๆ อีกด้วย และภายใต้โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตั้งเป้าหมายการลดการระบายมลพิษที่ดีกว่ากฎหมายกำหนด รวมถึงตั้งเป้าหมายลดการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งในปัจจุบันมีโรงงานเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวแล้วกว่า 44,414 ใบรับรอง อีกทั้งกำหนดให้โรงงานที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง เช่น โรงงานที่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องมีผู้ควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม และต้องตรวจวัดค่าการระบายมลพิษและจัดทำรายงาน เพื่อใช้กำกับให้โรงงานดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบายมลพิษไม่เกินที่กฎหมายกำหนด   

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Automation Expo