Kosmo

กระทรวงอุตสาหกรรม ชูนโยบาย BCG โชว์ศักยภาพเจ้าภาพการประชุมเอเปค

Date Post
24.08.2022
Post Views

กระทรวงอุตสาหกรรม ชูนโยบาย BCG โชว์ศักยภาพเจ้าภาพการประชุมเอเปคด้านมาตรฐาน จับมือ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค พลิกฟื้นเศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19 และฟื้นฟูการค้าและการลงทุน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ เอเปค 2022 ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 พร้อมแสดงจุดยืนและบทบาทของไทยในเวทีการค้าโลก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตามแนวคิด 

“เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.”  

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)  ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรองของเอเปค (Sub-Committee on Standards and Conformance: SCSC) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SCSC ครั้งที่ 2/2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2565      ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบออนไลน์ 

ทำไมต้องแยกเครื่อง CMM ให้ห่างจากสายการผลิต?

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ สมอ. ได้ผลักดันภารกิจสำคัญเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาล 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาและผลักดันกิจกรรมด้านมาตรฐานและการรับรองเกี่ยวกับ BCG Model 2) สนับสนุนและส่งเสริมแนวทางใหม่ เพื่อให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 และฟื้นฟูการค้าและการลงทุน 3) ส่งเสริมด้านนวัตกรรมและดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนตลาดและเชื่อมโยงสู่สากล และ 4) สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการค้าให้ผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs)  โดยมีผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน จีนฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม เข้าร่วมประชุมกว่า 80 คน ภายใต้หัวข้อ “Open. Connect. Balance.” หรือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” ผ่านแนวคิด โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า    การประชุมในครั้งนี้มุ่งผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกันกับมาตรฐานระหว่างประเทศโดยมุ่งเน้นมาตรฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (2) การจัดกิจกรรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 และ BCG Model เช่น แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การส่งเสริมความโปร่งใสในการออกกฎระเบียบ การออกใบรับรองดิจิทัล และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

นอกจากนี้ สมอ. ได้นำเสนอผลลัพธ์จากการประชุม The 14th SCSC Conference: BCG for APEC MSMEs – Challenges and Ways Forward ที่ สมอ. เป็นเจ้าภาพผ่านระบบออนไลน์เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ เพื่อสร้างความตระหนักด้านมาตรฐานและการรับรองเกี่ยวกับ BCG Model แก่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย หรือ MSMEs – Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises 

รวมทั้ง ผลักดันให้มีการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจต่อไปและนอกจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรองของเอเปคแล้ว สมอ. ยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วมด้านกฎระเบียบบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 29 โดยมีประเทศเปรู ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงานตามความตกลงยอมรับร่วมในผลการตรวจสอบและรับรองบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเอเปค (APEC EE MRA) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าในสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันในภูมิภาคอีกด้วย

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์