กรมธุรกิจพลังงาน เผย สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 11 เดือนของปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.6
นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 11 เดือนของปี 2564 (มกราคม-พฤศจิกายน) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.6 โดยการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ลดลงร้อยละ 39.9 กลุ่มเบนซินลดลงร้อยละ 9.3 กลุ่มดีเซลลดลงร้อยละ 5.0 น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 6.2 อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 สำหรับการใช้ NGV ลดลงร้อยละ 19.6
เพิ่มปริมาณจัดเก็บในคลังสินค้า ด้วยระบบ Shuttle Racking Systems | LPI Rack Range [Super Source]
การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 28.59 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลง ร้อยละ 9.3) โดยปริมาณการใช้กลุ่มแก๊สโซฮอล์ลดลงมาอยู่ที่ 27.94 ล้านลิตร/วัน (ลดลง ร้อยละ 9.1) การใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 แก๊สโซฮอล์ อี20 และแก๊สโซฮอล์ อี85 ลดลงมาอยู่ที่ 6.82 ล้านลิตร/วัน 14.67 ล้านลิตร/วัน 5.69 ล้านลิตร/วัน และ 0.76 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ สำหรับการใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 0.66 ล้านลิตร/วัน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการใช้กลุ่มเบนซินเฉพาะเดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่า การใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.53 ล้านลิตร/วัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เดือนตุลาคม 2564 อยู่ที่ 28.56 ล้านลิตร/วัน) (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของทุกชนิดน้ำมัน เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยมีการปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดลดลงจาก 23 จังหวัด เป็น 7 จังหวัด (มีผล 1 พฤศจิกายน 2564) และลดเหลือ 6 จังหวัด (มีผล 16 พฤศจิกายน 2564)
การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 61.84 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลง ร้อยละ 5.0) สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 การใช้ลดลงมาอยู่ที่ 37.32 ล้านลิตร/วัน (ลดลง ร้อยละ 15.0) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.55 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้ 1.05 ล้านลิตร/วัน
สำหรับการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเฉพาะเดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 71.87 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5) เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้น้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
- การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 10 เดือน ลดลง ร้อยละ 5.1
- การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 9 เดือน ลดลงร้อยละ 5.2
- ยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 8 เดือน ลดลง 4.4 %
- การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 7 เดือน ลดลง ร้อยละ 3.0
นอกจากนี้ พบว่า ปริมาณการใช้ดีเซลหมุนเร็ว บี7 เพิ่มขึ้นจาก 42.79 ล้านลิตร/วัน มาอยู่ที่ 54.35 ล้านลิตร/วัน สวนทางกับการใช้ดีเซลหมุนเร็วธรรมดาที่ลดลงจาก 23.55 ล้านลิตร/วัน มาอยู่ที่ 9.88 ล้านลิตร/วัน โดยเป็นผลจากส่วนต่างราคา บี7 – บี10 ที่ลดลงมาอยู่ที่ 0.15 บาท/ลิตร
การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 4.48 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลง ร้อยละ 39.9) เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนส่งผลให้สำนักงาน
การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กำหนดให้ผู้โดยสารที่บินเข้าประเทศไทยจาก 8 ประเทศ (บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิมบับเว) ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ต้องเข้ากระบวนการกักตัว 14 วัน และตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ห้ามผู้โดยสารดังกล่าวเข้าประเทศไทย (มีผล 28 พฤศจิกายน 2564)
การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 16.50 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7) เนื่องจากการใช้ในภาคปิโตรเคมีที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.32 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.4) และการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.86 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.6) สำหรับภาคครัวเรือนมีการใช้อยู่ที่ 5.61 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.5)
อย่างไรก็ตาม การใช้ในภาคขนส่งลดลงมาอยู่ที่ 1.71 ล้านกก./วัน (ลดลง ร้อยละ 16.3) การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.11 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลง ร้อยละ 19.6) โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับจำนวนสถานีบริการและรถ NGV ที่ลดลง
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 878,335 บาร์เรล/วัน ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลง ร้อยละ 2.0) โดยการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 844,811 บาร์เรล/วัน (ลดลง ร้อยละ 0.9) สวนทางกับมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 58,035 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 54.9) สำหรับ
การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) ลดลงมาอยู่ที่ 33,523 บาร์เรล/วัน (ลดลง ร้อยละ 24.7) คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 2,180 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.6) มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2564 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ไบโอดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 204,822 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.8) คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 15,085 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 84.3)