Kosmo

ก.อุตฯ ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบ Bubble and Seal ไม่พบป่วยโควิด-19

Date Post
25.08.2021
Post Views

ก.อุตฯ ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบทำ Bubble and Seal ชี้ได้ผลดีไม่พบป่วยโควิด-19 เพิ่มแนะใช้ชุดตรวจโควิดคัดกรองเชิงรุก (ATK)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ (Onsite) ร่วมกับนายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหัวหน้าศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤตกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ ศูนย์ CMC : Crisis Management Centerเพื่อติดตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  ของ บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จังหวัดปทุมธานี ว่า บริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจ ผลิตอุปกรณ์สำหรับโครงข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์ไฮเทคเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ เลเซอร์ และเซนเซอร์สามมิติ โดยมีแรงงานจำนวน 1,800 คน 

Intelligent Asia Thailand 2025

ครบวงจร! วิเคราะห์และทดสอบชิ้นงานตัวอย่างครบทุกโซลูชั่นที่ Coax Technical Center [SuperSource]

ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามหลักการจัดการโควิด 19 ในโรงงาน อย่างมีส่วนร่วม หรือ Bubble and Seal โดยดำเนินการตรวจคัดกรองคนก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกสัปดาห์ปรับลดจำนวนบุคลากรในโรงงาน ให้พนักงานส่วนใหญ่ทำงานที่บ้าน (Work from Home) และให้พักอาศัย อยู่ใกล้เคียงโรงงาน จัดสถานที่ทางเดินและการรับประทานอาหารให้มีการเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม  พร้อมได้จัดเตรียมอาหารเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อของพนักงาน 

นอกจากนี้ยังได้สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานด้วยการแจกรางวัลให้กับแผนกที่สามารถป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อได้ สำหรับบุคลากรที่เข้าทำงานจะต้องตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ร่วมกับ RT-PCR เมื่อผลเป็นบวกเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อจริง โดยบริษัทได้ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาครัฐมาตลอด ทั้งการนำผู้ติดเชื้อไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามการประสานฉีดวัคซีนพนักงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อนหน้านี้โรงงานฯ ได้ดำเนินการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ให้กับพนักงานครบทุกคนแล้ว และจะใช้การตรวจด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจอีกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  ซึ่งจะปฏิบัติตามมาตรการนี้ต่อไปอย่างเข้มข้นถึงเดือนกันยายน 2564 หรือจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปรกติ

“บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ถือเป็นแบบอย่างโรงงานที่ใช้แนวทาง Bubble and Seal ในการปฏิบัติและได้ผลดี เพราะไม่พบผู้ติดเชื้อมาพักใหญ่ และยังสามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มเติมได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในสถานประกอบการน้อยมาก และบริษัทฯ ยังได้เข้าประเมินตนเองในแพลตฟอร์ม Thai Stop Covid (TSC) และได้ถูกสุ่มตรวจประเมิน (Onsite) ถือเป็นโรงงานที่เป็นกรณีศึกษาและเป็นตัวอย่างที่ดี” 

และจริงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายโรงงานที่มีแนวทางที่มีประสิทธิภาพสามารถนำมาเป็น Best Practices เพื่อขยายผลเป็นต้นแบบต่อไปได้ เนื่องจากปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19และมาตรการรัฐอย่างเข้มข้น ซึ่งข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้ให้เห็นว่าโรงงานที่เข้าประเมิน TSC แล้วมีแนวโน้มการติดเชื้อโควิดน้อยกว่าโรงงานที่ไม่ได้เข้าประเมินถึง 4.5 เท่า ถือว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงงาน 

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทำแผนตรวจประเมินสถานประกอบการเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแนะนำมาตรการ Good Factory Practice ให้กับโรงงานทุกขนาดทั่วประเทศ 1,805 โรงงาน ขณะนี้ตรวจแล้ว 1,583 โรงงาน คิดเป็น 88% โดยเพิ่มขึ้นในกลุ่มโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก และโรงงานที่ยังไม่ประเมินตนเองมากขึ้น ในแพลตฟอร์ม TSC เพื่อเชิญชวนให้เข้าประเมินตนเองและการให้คำแนะนำการทำ Bubble and Seal

ทั้งนี้ สถานประกอบการโรงงานเป็นกลไกหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายใน หรือส่งออก การรักษาการจ้างงาน และช่วยป้องกันสินค้าขาดตลาดและปรับราคาสูงขึ้นจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน ซึ่งการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่องจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าและนักลงทุนที่จะเข้าในอนาคตได้ต่อไป ดังนั้นการเปิดดำเนินการในสถานการณ์โควิด-19 จึงเป็นเรื่องจำเป็น และขอความร่วมมือให้ทุกสถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัด” นางวรวรรณ กล่าว

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Intelligent Asia Thailand 2025