นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Washington State University และ Brookings Institute ได้ศึกษาตัวอย่างกว่า 300 ครัวเรือนในพื้นที่ Seattle ต่อเนื่องกว่า 6 ปีพบว่าปัญหาการจราจรติดขัดนั้นยิ่งทำให้แต่ละครับครัวซื้อรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะทำให้รู้สึกปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งกว่า และเมื่อทำการทดสอบกับแนวคิดค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Pricing) เพื่อพิจารณาแนวโน้มการตัดสินใจซื้อรถ พบว่าส่วนแบ่งตลาดสำหรับ SUV ขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั่วไปนั้นลดลง 8%
แม้ว่าปัจจุบันนั้นการจราจรอาจไม่ติดขัดเทียบเท่ากับก่อนเกิดการระบาด แต่เมื่อมาตรการกักตัวหรือการกำหนดระยะห่างหมดลงปัญหาการจราจรที่หนาแน่นจะกลับมาอีกครั้ง ซึ่งนโยบายค่าธรรมเนียมรถติดในต่างประเทศนั้นสามารถลดความสาหัสสากรรจ์ของการเดินทางในช่วงเวลาเร่งรีบลงได้ ทั้งยังมีแนวโน้มทำให้เชื่อได้ว่ามันจะเป็นเรื่องดีกว่าหากซื้อยานยนต์ที่มีขนาดเล็กและเหมาะสมกับการใช้งานมากกว่า
ในการลดจำนวนยานยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกานั้นส่งผลต่อการลดอุบัติเหตุร้ายแรงลงได้ 10% รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องมูลค่ากว่า 25,000 ล้านดอลาาร์สหรัฐฯ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงอีก 3% ซึ่งประหยัดลงไปได้อีกกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในปี 1980 รถกระบะขนาดเล็กและ SUV คิดเป็น 20% ของยานยนต์ใหม่ที่ออกสู่ท้องถนน ในขณะที่ปี 2017 สัดส่วนนั้นเพิ่มเป็น 62% ซึ่งงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัญหารถติดนำไปสู่การแข่งขันเพื่อที่จะซื้อรถใหญ่ยิ่งขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้เกี่ยวพันกับความรู้สึกปลอดภัยบนทางด่วนซึ่งมักเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
ในขณะที่ความเชื่อจำนวนมากเป็นดังที่นำเสนอ แต่ในความเป็นจริงแล้วยิ่งขนาดยานยนต์ใหญ่เท่าไหร่ยิ่งเพิ่มระดับความอันตรายถึงชีวิตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่เองหรือรถที่ขนดาเล็กกว่าหากเกิดอุบัติเหตุจากรถหลายคันก็ตาม
ที่มา:
News.wsu.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ: การจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์อาจเปลี่ยนไปในปี 2030 |