Kosmo
จุฬาฯ นำเสนอนวัตปะการังสามมิติ มุ่งฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลไทย

จุฬาฯ นำเสนอนวัตปะการังสามมิติ มุ่งฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลไทย

Date Post
28.10.2022
Post Views

นวัตปะการัง (Innovareef) ผลงานของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (VMARCE) เพื่อเร่งฟื้นฟูแนวปะการัง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมทางทะเลนั้น คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NIAWARDS) ประจำปี 2563 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการมาได้

ปะการังเทียมในอดีตนั้น มักสร้างมลภาวะทางสายตา และส่วนใหญ่ไม่ได้ผล ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยจากจุฬาฯ นำโดยรศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำฯ และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ (OAAC) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้คิดค้นปะการังเทียมที่มีความสวยงามเหมือนจริงใกล้เคียงกับธรรมชาติ  ลดแรงต้านของน้ำขึ้นลงได้ดี ช่วยให้ตัวอ่อนปะการังลงเกาะได้ดี เป็นถิ่นที่อยู่สำหรับสัตว์ทะเลสายพันธุ์ต่าง ๆ และช่วยเร่งฟื้นฟูแนวปะการัง

นวัตปะการังมีข้อได้เปรียบมากกว่าปะการังเทียมทั่วไปดังนี้

1.  บนตัวนวัตปะการังมีการพ่นเคลือบสารอาหารจำพวกแคลเซียมและฟอสเฟตที่ปะการังตามธรรมชาติใช้ในการเติบโต ซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่า ต่ัวอ่อนปะการังที่มาเกาะบนนวัตปะการังโตเร็วกว่าปะการังตามธรรมชาติ เฉลี่ยละ 3-4 เซนติเมตรต่อปี

2. เลียนแบบลักษณะตามธรรมชาติของปะการัง รองรับการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังได้ดี ทั้งยังเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

3. ลดแรงต้านกระแสน้ำ ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีไฮโดรไดนามิก

4. สถานีอัจฉริยะเพื่อตรวจวัดสภาวะโลกร้อน โดยติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางทะเล เช่น อุณหภูมิของน้ำ การไหลของกระแสน้ำ วัดความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เป็นต้น

5.  การออกแบบระดับรางวัล ใช้ซีเมนต์ที่มีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงน้ำทะเล ออกแบบตามแนวคิดเลโก้ คือการทำเป็นบล็อกถอดประกอบชิ้นส่วนได้ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายนวัตปะการัง รวมแล้วค่าใช้จ่ายในการผลิตอยู่ที่ราว 26,000 บาทต่อนวัตปะการังหนึ่งตัวเท่านั้น

กฎการผลิตรถใหม่ใน California เปลี่ยนเป็น ZEV ภายในปี 2035 | FactoryNews ep.25/1

นวัตปะการังไทย : สวรรค์แห่งใหม่ของนักดำน้ำ

แนวนวัตปะการังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ ทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เพิ่งเริ่มหัดดำน้ำใหม่ ๆ นักดำน้ำสน็อกเกิล และผู้ที่ต้องการเดินใต้ทะเล เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศชาติ

อนาคต : นวัตปะการังรุ่นต่อ ๆ ไป

ทางทีมวิจัยมีแผนที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอีก โดยจะออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับสัตว์น้ำแต่ละชนิดในละแวกนั้น นอกจากนี้ ทีมวิจัยกำลังวิจัยต่อยอดร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการออกแบบนวัตปะการังที่ผสานนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ปกป้องปะการังจากสภาวะโลกร้อนได้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร : 02 251 8887, 02 218 9510 อีเมล: [email protected]

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มและดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.chula.ac.th/highlight/87503/ 

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex