Kosmo
ติดอาวุธอุตฯจังหวัด ทำงานตอบโจทย์ ยุค New Normal

ติดอาวุธอุตฯจังหวัด ทำงานตอบโจทย์ ยุค New Normal

Date Post
14.07.2020
Post Views

อุตสาหกรรมเดินหน้าเชิงรุก ติดอาวุธอุตสาหกรรมจังหวัดและเจ้าหน้าที่จากทั่วประเทศ เน้น การทำงานตอบโจทย์ยุค New Normal รวดเร็ว โปร่งใส

ติดอาวุธอุตฯจังหวัด ทำงานตอบโจทย์ ยุค New Normal

กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้า “การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมในภูมิภาคเพื่อรองรับการทำงานวิถีใหม่ (New Normal) รวมพลอุตสาหกรรมจังหวัด และเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้างานจากทุกหน่วยงานทั่วประเทศ เพื่อปรับกลยุทธ์การทำงาน เน้น สร้างประสิทธิภาพงานที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างไม่สะดุด สู่การสร้างความเชื่อมั่นในระดับนานาประเทศ ชูความพร้อมเป็นฮับของการลงทุนในระดับภูมิภาค

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ  โรคโควิด – 19 ส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วน และทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดภาวะชะลอตัว สำหรับประเทศไทยนั้น ภายหลังที่มีการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศให้เป็นศูนย์ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีมาตรการผ่อนปรนให้กิจการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ทิศทางก็ค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม ปรับแนวทางการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับสถานะ New Normal โดยมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก “การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมในภูมิภาคเพื่อรองรับการทำงานวิถีใหม่ (New Normal)” โดยเชิญอุตสาหกรรมจังหวัดและเจ้าหน้าที่หัวหน้างานจากทุกหน่วยงานทั่วประเทศ ร่วมเดินหน้ากำหนดทิศทางการทำงาน ด้วยหลักสำคัญ 3 ข้อ คือ

1.ผนึกทุกภาคส่วนร่วมวางรากฐานอุตสาหกรรมสู่อนาคต 

2. ประเมินผลงานของกระทรวงโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัวจริง 

3. ทำงานเชิงรุกในส่วนของแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการทำงานวิถีใหม่ (New Normal) โดยแบ่งการดำเนินงานด้านหลักๆ ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ เริ่มจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก เน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มคนว่างงานและนักศึกษา จบใหม่ กลุ่มชุมชนและวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนยังมีแนวทางการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจไปสู่ การรักษากลุ่มเอสเอ็มอีที่มีกว่า 3 ล้านราย การสร้างธุรกิจรองเพื่อเสริมมั่นคง การส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมแปรรูปอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม เตรียมบูรณาการวางแผนฟื้นฟูและดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีคุณภาพ เพื่อรับมือและลดปัญหาภัยแล้ง และ PM 2.5 พร้อมขับเคลื่อนหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 สุดท้าย ด้านปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร มุ่งเน้นการปรับโฉมงานบริการใหม่พร้อมส่งมอบบริการที่ดี  โดยองค์กรต้องปรับตัวสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้การ Work from Home ทำให้เห็นว่าต้องพร้อมยืดหยุ่น ปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วหรือคาดไม่ถึง ทั้งหมดนี้คือ New Normal ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรุดดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปได้อย่างมีศักยภาพ พร้อมที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั่วโลกเกิดความมั่นใจว่า ประเทศไทยมีศักยภาพพร้อมจะเป็น Hub ของการลงทุนในภูมิภาคและการลงทุนในอนาคต

 นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ New Normal ในระยะที่ 1 ทำทันที ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อม เพื่อนำผู้ประกอบการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิด ตลาดและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรมไทย “ผลิตได้ ขายได้ และอยู่ด้วยกันได้” การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับ การช่วยเหลือด้านการเงินผ่านสินเชื่อต่าง ๆ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการขนาดใหญ่ (Big Brother) กับเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ที่เป็นธุรกิจของคนไทย เป็นการเสริมแกร่งจุดแข็งของประเทศ  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้เร่งฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยได้อนุมัติพักชำระหนี้เงินต้น และขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ให้กับลูกค้า ที่ขอสินเชื่อผ่านสถาบันทางการเงิน และหน่วยงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมดูแล นอกจากนี้ ยังยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานรายปี ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ. แร่ และ พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายโดยตรงให้กับผู้ประกอบการ ตลอดจนร่วมกับสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เพื่อแปลงเครื่องจักรเป็นทุน การพัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์ เพื่อให้ SMEs มุ่งสู่แฟลตฟอร์มดิจิทัล การแสวงหาและสร้างโอกาสใหม่ ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจปรับตัวและเดินหน้าต่อไป

การสัมมนาครั้งนี้ได้รวบรวมเนื้อหาจากทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อติดอาวุธให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา เช่น การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การออกกฎหมายรองและการถ่ายโอนภารกิจตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การบูรณาการงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) การผลักดันนวัตกรรม หนึ่งจังหวัด หนึ่งวิสาหกิจเริ่มต้น (One Province One Startup) การบูรณาการการปฏิบัติงานด้านเหมืองแร่ การบริหารจัดการอ้อยไฟไหม้และอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยุคใหม่ การทำหน้าที่นายทะเบียนเครื่องจักรประจำจังหวัด แนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลฯ และการจัดทำสมดุลมวลสาร (Mass Balance) และระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวก เป็นต้น รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่เปิดเวทีให้กับสถาบันเครือข่าย ได้ร่วมนำเสนอเนื้อหา เพื่อประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เช่น อาหาร ยานยนต์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex