Kosmo

ธพ.เผย การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 63 ลดลงร้อยละ 12.5

Date Post
02.02.2021
Post Views

ธพ.เผย การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 63 ลดลง ร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับปี 62 สาเหตุสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีการ Lockdown ในช่วงไตรมาสที่ 2 ประกอบกับมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศในปี 2563

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันของปี 2563 (มกราคม – ธันวาคม) ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ร้อยละ 12.5 โดยกลุ่มเบนซินลดลงร้อยละ 1.5 กลุ่มดีเซลลดลงร้อยละ 2.9 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ลดลงร้อยละ 62.3 น้ำมันเตาลดลงร้อยละ 11.2 น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 14.4 LPG ลดลงร้อยละ 13.7 และ NGV ลดลงร้อยละ 28.3 โดยสาเหตุสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีการ Lockdown ในช่วงไตรมาสที่ 2 ประกอบกับมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศในปี 2563

Intelligent Asia Thailand 2025

การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.7 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.5 โดยความต้องการใช้ลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ 2ของปี 2563 และเริ่มกลับมาอยู่ในระดับปกติอีกครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายนหลังการคลาย Lockdown และมีความต้องการใช้รถส่วนตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ส่งผลให้การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 33.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเพียงร้อยละ 0.4 (ปี2562 และ 2561 

ความต้องการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 2.5 และ 4.8 ตามลำดับ) สำหรับการใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 0.8 ล้านลิตร/วัน (ลดลงร้อยละ 16.6) กลุ่มแก๊สโซฮอล์ปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 30.9 ล้านลิตร/วัน (ลดลงร้อยละ 1.0) เมื่อพิจารณาแยกชนิดน้ำมัน พบว่า แก๊สโซฮอล์ อี85 ปริมาณการใช้ลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 0.9 ล้านลิตร/วัน (ลดลงร้อยละ 30.2) รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 91 ปริมาณการใช้อยู่ที่ 8.2 ล้านลิตร/วัน (ลดลงร้อยละ 14.0) ในขณะที่แก๊สโซฮอล์อี 20 ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.5 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3)และแก๊สโซฮอล์ 95 ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.3 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0)

การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 65.4 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.9 โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงต้นปีและปลายปี 2563 สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 มีปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 43.8 ล้านลิตร/วัน (ลดลงร้อยละ 26.8) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 16.2 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 3.5 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากนโยบายส่งเสริมของภาครัฐ

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 7.3 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 62.3 เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดตั้งแต่ต้นปี 2563 และมาตรการจำกัดการเดินทางในช่วงไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้การใช้น้ำมันJet A1 ลดลงไปอยู่ที่ 2.2 ล้านลิตร/วัน และแม้ว่าปริมาณการใช้จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.6-5.6 ล้านลิตร/วัน ในช่วงครึ่งปีหลัง แต่การแพร่ระบาดในเดือนธันวาคมส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่ขยายตัว ปริมาณการใช้ Jet A1 ในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 5.6 ล้านลิตร/วัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน (ปี2562 และ 2561 ความต้องการใช้ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 3.1 และ 4.3 ตามลำดับ)

การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 15.4 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.7 โดยปริมาณการใช้ในภาคขนส่งลดลงมากที่สุด โดยมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 2.0 ล้านกก./วัน (ลดลงร้อยละ 27.1) รองลงมาเป็นภาคปิโตรเคมี ซึ่งมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 6.1 ล้านกก./วัน (ลดลงร้อยละ 17.4) ถัดมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 1.7 ล้านกก./วัน (ลดลงร้อยละ 7.4) และภาคครัวเรือนมีปริมาณการใช้ลดลงน้อยที่สุดโดยการใช้ อยู่ที่ 5.6 ล้านกก./วัน (ลดลงร้อยละ 4.5) การใช้ NGV เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 3.9 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.3 สอดคล้องกับจำนวนรถ NGV ที่ลดลง

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 882,398 บาร์เรล/วัน ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 (ลดลงร้อยละ 8.0) โดยการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ 845,113 บาร์เรล/วัน (ลดลงร้อยละ 1.1) คิดเป็นมูลค่า 37,221 ล้านบาท/เดือน ในขณะที่การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) ลดลงมาอยู่ที่ 37,285 บาร์เรล/วัน (ลดลงร้อยละ 64.2)

คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวม 1,710 ล้านบาท/เดือน การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 185,962 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4) ทดแทนอุปสงค์ในประเทศที่ลดลง คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 8,334 ล้านบาท/เดือน (ลดลงร้อยละ 24.9) โดยมูลค่าลดลงสวนทางกับปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงมาก

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Automation Expo