ปตท. คาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 67 อยู่ที่ 75 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

ปตท. คาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 67 อยู่ที่ 75 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

Date Post
23.11.2023
Post Views

ทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน กลุ่ม ปตท. (PRISM Experts) ร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2567 อยู่ที่ 75 – 85 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ยังต้องจับตานโยบายควบคุมกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC+ เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันดิบ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของกลุ่มประเทศตะวันตกในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งการแสวงหาโอกาสและแนวทางปรับตัวของกลุ่มบริษัทพลังงานในยุคการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)

เมื่อ 22 พ.ย. 2566 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา 2023 The Annual Petroleum Outlook Forum ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Change for Chance: ปรับ เปลี่ยน เพื่อไปต่อ สู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต” พร้อมเปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 45 ปี ปตท. ยังคงมุ่งมั่นรักษาความมั่นคงด้านพลังงานพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยปัจจุบัน กลุ่ม ปตท. ขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและขยายสู่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์โลกและเตรียมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สภาวะเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป 

UNSW Canberra ค้นพบวิธีรีไซเคิลคาร์บอนไฟเบอร์ให้ดีกว่าเดิม 

ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันในปีหน้ายังมีทิศทางเพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ กำลังซื้อในสหรัฐอเมริกา การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุโรป และการใช้น้ำมันในภาคการบินของจีนที่เพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศ ขณะเดียวกัน อุปสงค์น้ำมันยังคงเติบโตในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานฟอสซิล 

อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและกฎหมายรองรับ มีส่วนทำให้อุปทานน้ำมันเติบโตอย่างจำกัด โดยคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในปี 2567 จะเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในปี 2567 อยู่ที่ 75 – 85 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

นอกจากนี้ ปตท. ยังได้ร่วมผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ มุ่งบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายที่ประเทศกำหนด ถือเป็นความท้าทายในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง แต่โลกยังต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่างรัสเซียและยูเครน สหรัฐอเมริกากับจีน สงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาส ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางต่าง ๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่องในประเทศจีนจากการที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงโดยสร้างกฎระเบียบให้เข้มงวดมากขึ้น 

รวมทั้งนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ “Net Zero” ของประเทศต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าสู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต ให้เกิด “ความยั่งยืนด้านพลังงาน” จะเป็นการสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน 3 ประการ หรือ “Energy Trilemma” คือ 1) ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) คือการจัดหาพลังงานพื้นฐานและความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 2) ความเป็นธรรมทางพลังงาน (Energy Equity) คือการจัดหาพลังงานที่สามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม และ 3) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เป็นการจัดหาพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่ต่ำ นับเป็นความท้าทายของกลุ่มบริษัทพลังงาน ในการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน จึงเป็นที่มาของแนวคิด “Change for Chance: ปรับ เปลี่ยน เพื่อไปต่อ สู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต” ของงานสัมมนาในปีนี้

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex