Kosmo

พพ.หนุนกระแสติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ลดขั้นตอนอนุญาตให้ผลิตไฟฟ้า

Date Post
20.09.2022
Post Views

พพ.หนุนกระแสติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ปรับลดกระบวนการให้ความเห็นอนุญาตให้ผลิตไฟฟ้า ให้มีความรวดเร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้น

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมชี้แจงการปรับปรุงกระบวนการให้ความเห็นการออกแบบใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2) ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ณ ห้องประชุมบุญรอด-นิธิพัฒน์ ชั้น 11 พพ.  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ รวมกว่า 500 ราย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, สภาวิศวกร, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค,  การไฟฟ้านครหลวง, สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย, สมาคมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไทย ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 

[Factory News Live!] WeeklyReport | FactoryNews ep.26 / 16 Sep 2022

นายประเสริฐ กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้ที่จะผลิตไฟฟ้าขนาดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 200 kVA ขึ้นไป (ประมาณ 200 kW) ต้องมีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯ (พค.1) และแบบตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุมต่อ กกพ. และทาง กกพ. นำส่ง พพ. พิจารณาให้ความเห็นอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะติดตั้ง 

โดยที่ผ่านมาได้มีการยื่นคำขอใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 150 รายต่อเดือน โดยกว่า 80% เป็นคำขออนุญาตผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อป ทำให้กระบวนการพิจารณาให้ความเห็นเดิมไม่สามารถรองรับต่อปริมาณคำขอที่เพิ่มขึ้น  พพ.จึงได้มีการปรับลดกระบวนการพิจารณาให้ความเห็นอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม(พค.2) ใหม่ให้กระชับและระยะเวลาที่เร็วขึ้นด้วยการใช้วิธีรองรับข้อมูลด้วยตนเองโดยวิศวกรที่ต้องขึ้นทะเบียนกับ พพ. (Self Declaration) ซึ่งจากเดิมกระบวนการให้ความเห็นของ พพ. จะใช้เวลาในการตรวจแบบส่งข้อมูลและตรวจแบบด้วยการ live ณ สถานที่ติดตั้ง , ตรวจหน้างานจริง (non-solar) ซึ่งรวมระยะเวลากว่า 60 วัน และการปรับกระบวนการใหม่จะใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ยื่นคำขอได้มีการผลิตและการใช้พลังงานที่เร็วขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการผลิตพลังงานควบคุมเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง พพ.จึงได้ออกประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ประกอบการให้ความเห็นการออกใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ  ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง การรับขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม ซึ่งประกาศทั้ง 2 ฉบับ จะช่วยให้เกิดความคล่องตัว และทันต่อสถานการณ์การปรับตัวต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น  

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์