เป็นครั้งแรกในโลกที่มนุษย์สามารถระบุความแตกต่างระหว่างชนิดของพลาสติกแต่ละแบบได้อย่างหลากหลายตามลักษณะองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้กล้อง Hyperspectral ที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยให้อัตราการรีไซเคิลพลาสติกเพิ่มมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้ได้ถูกทดสอบสำหรับโครงการนำร่องและมีแผนจะถูกใช้ในระดับอุตสาหกรรมในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2022
หากมองด้วยตาพลาสติกหลาย ๆ ชนิดอาจจะเหมือน ๆ กัน แต่แท้จริงแล้วกลับมีองค์ประกอบทางเคมีและส่วนผสมที่แตกต่างกันอยู่ไม่น้อย เช่น เม็ดสี ไฟเบอร์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน สิ่งเหล่านี้ยากแก่การระบุความแตกต่างสำหรับพลาสติกแต่ละชนิด และกลายมาเป็นปัญหาในการคัดแยกเพื่อทำการรีไซเคิล
ด้วยความร่วมมือกับ Vestforbrænding, Dansk Affaldsminimering Aps และ PLASTIX ทีมวิจัยจาก Aarhaus University ได้พัฒนาเทคโนโลยีกล้องที่สามารถมองเห็นความแตกต่างของชนิดพลาสติก 12 แบบ ได้แก่ PE, PP, PET, PS, PVC, PVDF, POM, PEEK, ABS, PMMA, PC และ PA12 ซึ่งเรียกได้ว่าครอบคลุมกลุ่มพลาสติกส่วนใหญ่ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้สามารถแยกพลลาสติกได้จากองค์ประกอบทางเคมีที่บริสุทธิ์กว่ากรรมวิธีในปัจจุบัน ทั้งยังเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับการรีไซเคิลพลาสติกได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีนี้มีแผนถูกบูรณาการสู่ตลาดโดย PLASTIX และ Affaldsminimering Aps ในฤดูใบไม้ผลิ 2022
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจะช่วยให้สามารถยกความแตกต่างระหว่างพลาสติกที่มีส่วนประกอบทางเคมีเหมือนกันแต่มีโครงสร้างการจัดเรียงที่แตกต่างกันเล็กน้อยได้ด้วยกล้อง Hyperspectral ในพื้นที่ของอินฟาเรดร่วมกับการใช้งาน Machine Learning เพื่อวิเคราะห์และจัดกลุ่มพลาสติกบนสายพานลำเลียง นับเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับการแยกพลาสติก
พลาสติกในปัจจุบันจะถูกคัดแยกด้วย Near-infared Techology (NIR) หรือใช้การทดสอบความหนาแน่น เช่น การลอย-จมในน้ำ วิธีเหล่านี้สามารถแยกพลาสติกได้บางส่วนแต่ไม่ได้มีความแม่นยำสูงเหมือนกับเทคโนโลยีใหม่ ในขณะที่การคัดแยกสำหรับรีไซเคิลนั้นพลาสติกจำเป็นต้องมีส่วนประกอบของโพลีเมอร์บริสุทธิ์มากถึง 96% ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลทั่วไปซ่ึงหมายถึงวัสดุเหล่านั้นแทบจะต้องเป็นโพลีเมอร์บริสุธิ์ทั้งหมด
ที่มา:
Bce.au.dk
เนื้อหาที่น่าสนใจ: คุณสมบัติสำคัญของ ‘มอเตอร์เกียร์’ ในอุตสาหกรรมอาหาร |