iscar
Pacific_mercury_blade

วิธีเลือกใบเลื่อยสายพานให้ได้ผลผลิตสูงสุด

Date Post
10.03.2021
Post Views

การเลือกใบเลื่อยตามประเภทการใช้งานจะทำให้คุณสามารถปรับปรุงคุณภาพการตัดให้เหมาะสมกับงานและเพิ่มปริมาณงานตัดได้สูงสุด

 คุณกำลังเผชิญกับทางเลือกที่มากเกินไปในการเลือกใบเลื่อยสายพานหรือเปล่า? 

Pacific_mercury_blade

สำหรับผู้ผลิตงานแปรรูปเหล็ก หรือ โลหะ หรืองานเลื่อยประเภทต่าง ๆ การทำความเข้าใจแนวคิดหลัก ๆ สักสองสามประการและการปฏิบัติตามคำแนะนำในการเลือกใช้ใบเลื่อยสายพานอย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณจำกัด ‘ตัวเลือก’ ให้แคบลงได้จนเหลือเพียงใบเลื่อยที่เหมาะสมเพื่อรองรับการใช้งานส่วนใหญ่

ในโลกทางทฤษฎีของผู้ประกอบการที่จำหน่ายใบเลื่อยและเครื่องเลื่อยนั้น มีตัวเลือกจำนวนมาก ทั้งใบเลื่อยและเครื่องเลื่อยสำหรับงานตัดแต่ละประเภท เพื่อให้คุณเลือกใบเลื่อยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานตัดวัสดุแต่ละอย่าง แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้ใช้งานจริง ๆ มักจะมีใบเลื่อยเพียงประเภทเดียวสำหรับตัดงานทุกอย่าง ตั้งแต่ ชิ้นงานแผ่นบาง ๆ ท่อเหล็ก ไปจนถึงแท่งสแตนเลสสตีลที่มีความแข็งพิเศษ

ถึงแม้ว่าจะไม่มีใบเลื่อยใดที่สมบูรณ์แบบสำหรับทุกประเภทการใช้งาน แต่การพิจารณาถึงปัจจัยบางอย่างก็สามารถช่วยจำกัดตัวเลือกของคุณจากหลักร้อยให้เหลือหลักสิบได้

 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง:

1. ความยาว ความหนา ความกว้าง และวัสดุของใบเลื่อย

ใบเลื่อยสายพานมีลักษณะที่จำเพาะ สำหรับความยาว ความหนา และความกว้างของใบเลื่อย ตัวเลขเหล่านี้เป็นไปตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรม และโดยพื้นฐานแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีขนาดและระยะห่างของพูเล่ย์ (pulley)เป็นตัวกำหนดความยาวของใบเลื่อย ในขณะที่ช่องว่างระหว่างตัวประคองใบเลื่อย (side guides) หรือ ลูกปืนประคอง (roller bearings) หรือทั้งสองอย่าง (ขึ้นอยู่กับตัวเครื่อง) จะเป็นตัวกำหนดความหนาของใบเลื่อย เพราะหากใบเลื่อยหนาเกินไปจะไม่สามารถผ่านตัวประคองหรือลูกปืนประคองได้ ส่วนใบเลื่อยที่บางเกินไปจะ ทำให้ตัวประคองหรือลูกปืนประคองไม่สามารถประคองใบเลื่อยให้แน่นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและคุณภาพการตัดลดลง ซึ่งสามารถตรวจจับการสั่นสะเทือนได้ง่ายจากเสียงดัง

ภายใต้เงื่อนไขการตัดโดยทั่วไป ใบเลื่อยที่กว้างที่สุดจะตัดได้ตรงที่สุด ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กันระหว่างความกว้างของใบเลื่อยและความแข็งแรงของสันใบเลื่อย (blade beam) หลักการง่าย ๆ ก็คือ เมื่อความแข็งแรงของสันใบเลื่อย เพิ่มขึ้นคุณภาพการตัดก็จะดีขึ้น

ข้อสรุปข้อหนึ่งก็คือ วัสดุที่ใช้ในการผลิตใบเลื่อยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตัดอย่างแน่นอน

ใบเลื่อย Bi-metal (ใบเลื่อยไฮสปีดสตีล)  เป็นใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าความเร็วสูง มีความแข็งแรงมาก ต้านทานการสึกหรอสูงเหมือนประกอบด้วยใบเลื่อยสองชิ้น ใช้งานได้หลากหลายที่สุด โดยเฉพาะในการตัดโลหะ โดยสามารถตัดวัสดุที่ค่อนข้างแข็งได้ถึงระดับ 40-45 HRC

ใบเลื่อยติดคาร์ไบด์ (Carbide-tipped blades) สามารถตัดได้ถึงระดับความแข็งที่ 60-62 HRC มีปลายฟันที่ขึ้นรูปให้เป็นวัสดุรองรับ จากนั้นเชื่อมคาร์ไบด์ติดเข้ากับปลายฟันและเจียรให้เป็นรูปร่าง โดยส่วนมากจะนิยมนำไปใช้กับ งานตัดวัสดุด้านอากาศยาน เช่น โลหะพวกซูเปอร์อัลลอยที่ทำจากนิกเกิลและไทเทเนียม 

นอกจากนี้ ใบเลื่อยติดเม็ดคาร์ไบด์  ยังมีคุณสมบัติพิเศษในการตัดเหล็กเนื้อแข็งหรือไม้ที่เนื้อแข็งพิเศษ

หากเทียบใบเลื่อยสายพานประเภท Bi-Metal กับใบเลื่อยสายพานติดคาร์ไบด์ – ใบเลื่อยคาร์ไบด์สามารถตัดงานได้เร็วกว่า ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการหยุดเดินเครื่องเพื่อเปลี่ยนใบเลื่อย และสามารถตัดชิ้นงานได้พื้นผิวที่เรียบกว่า เมื่อเทียบกับใบเลื่อย Bi-metal

2. รูปทรงฟันเลื่อย (Tooth Geometry)

รูปทรงของฟันเลื่อยเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับถัดไป เพราะรูปทรงของฟันเลื่อยจะเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพและคุณภาพของการตัด รวมถึงความสามารถในการรองรับเศษโลหะ (ขี้เลื่อย) และอายุการใช้งานของใบเลื่อย ซึ่งฟันเลื่อยก็มีรูปรงหลากหลายแบบให้เลือกตามประเภทของงานที่จะตัด

แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจก็คือ ลักษณะของคลองฟันเลื่อย (Tooth set) ซึ่งเหลี่ยมมุมของคลองฟันดังกล่าวมีผลต่อประสิทธิภาพในการรองรับเศษโลหะและประสิทธิภาพการตัดโดยรวม และขนาดของการคัดคลองฟัน (Pinching application)

การพิจารณาเลือกขนาดฟัน (TPI – Teeth Per Inch) ที่เหมาะสม

กฎทั่วๆ ไป สำหรับการเลือกขนาดฟันให้เหมาะสมกับการตัดงานที่เป็นมัดรวม (Bundle) : ให้พิจารณาเลือกขนาดฟัน (TPI) โดยคำนึงถึงงานตัดสำหรับ 1 ชิ้น ก่อน เมื่อได้ขนาดฟันที่เหมาะสมแล้วจึงค่อยขยับขนาดฟันให้หยาบขึ้นอีกหนึ่งขนาด เพื่อให้ได้ขนาดฟันที่เหมาะสมกับงานตัดประเภทนั้น ๆ ที่จำเป็นต้องตัดแบบมัดรวม (Bundle)

ตัวเลขที่เราเรียกขนาดฟันคือ TPI (Teeth Per Inch) ค่า TPI คือ จำนวนฟันของใบเลื่อยในระยะความยาว 1 นิ้ว เช่น ใบเลื่อย 10/14 จะมีฟันเลื่อย 10 ฟัน จากนั้นนิ้วถัดไปจะมีฟันเลื่อย 14 ฟัน สลับกันไป เรียกว่า Variable Pitch ทำให้ใบเลื่อยมีประสิทธิภาพในการตัดและอายุการใช้งานนานขึ้น

ดังนั้นการเลือกใบเลื่อยให้เหมาะสม นอกจากรูปแบบของใบเลื่อย จำนวนฟันของใบเลื่อย หรือ TPI จะต้องดูลักษณะของวัตถุที่นำมาตัดด้วย หากเป็นชิ้นงานทึบตัน (Solid) จะใช้การวัดความกว้างของวัตถุ หากมีลักษณะเป็นท่อ (Tube) หรือเหล็กรูปพรรณ (Profile) จะใช้การวัดความหนาของวัตถุว่ามีขนาดเท่าไร

ลักษณะโดยทั่วไปของใบเลื่อยที่ใช้ในการตัดวัตถุ จะมี 2 แบบ คือ

  1. ใบเลื่อยตัดวัตถุที่มีลักษณะตัน (Solid) เช่น เหล็กเพลาตัน, เหล็กทำแม่พิมพ์ (Mold) ทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยม หรือวงกลม การเลื่อยตัดชิ้นงานที่ตันจะใช้ใบเลื่อยที่มีขนาดฟัน (TPI) หยาบ เพราะฟันใบเลื่อยที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ตัดงานได้เร็วขึ้นและคายเศษการตัดหรือขี้เลื่อยได้ดีกว่า ขนาดฟันที่นิยมใช้ เช่น 4/6, 3/4, 2/3 เป็นต้น
  2. ใบเลื่อยตัดท่อ (Tube), หรือวัตถุรูปทรงอื่น ๆ ที่เป็นเหล็กรูปพรรณ (Profile) เป็นการตัดวัตถุที่ไม่ตัน พื้นผิวที่ตัดจะแตกต่างกับวัตถุมีลักษณะตัน เช่น งานตัดท่อ พื้นผิวการตัดจะมีการสัมผัสใบเลื่อยน้อยกว่าแบบตัน จึงควรเลือกใช้ฟันเลื่อยแบบถี่มากขึ้น ทำให้การตัดราบรื่นและลดปัญหาเรื่องฟันแตก/บิ่น ฟันใบเลื่อยที่นิยมใช้ เช่น 6/10, 5/8, 4/6 เป็นต้น

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ต้องการตัดด้วย

ตัวอย่างการเลือกผลิตภัณฑ์ใบเลื่อยที่เหมาะสมกับประเภทของงาน จากทาง Pacific Mercury ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายใบเลื่อยคุณภาพสูงจากสวีเดน แบรนด์ Hakansson (แฮ็กแคนสัน), Eberle (อีเบอร์เล่) จากประเทศเยอรมัน และ Amada (อามะดะ) จากประเทศญี่ปุ่น

1. งานตัดเหล็ก/โลหะ หรืออื่นๆที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน

M42 (Allpower) – ฟันใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าความเร็วสูง มีความแข็งแรงมาก ต้านทานการสึกหรอสูง เหมาะกับงานผลิตและงานโลหะทุกประเภท (Standard)

M51 (Performer) – ฟันใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าความเร็วสูง มีความแข็งแรงมาก ต้านทานการสึกหรอสูง ทนต่อความร้อน และแรงเสียดสีสูง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น เหมาะสำหรับโลหะที่ยากต่อการตัด มีอัตราการตัดที่สูงขึ้น (Special)

MX55 (Duoflex MX55) – ฟันใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าความเร็วสูง (HSS51) โดยใช้เทคโนโลยีพิเศษที่ช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดในสูงขึ้นกว่า HSS51 ทั่วๆไป ทนต่อความร้อนและต้านทานการสึกหรอสูง คุณภาพในการตัดมีความเที่ยงตรงมากขึ้น ลดปัญหาการตัดงานที่ขาดตอนได้ เหมาะสำหรับวัตถุที่ยากต่อการตัด

Carbide – ใบเลื่อยติดเม็ดคาร์ไบด์ มีคุณสมบัติพิเศษในการตัดเหล็กแข็งหรือไม้ที่เนื้อแข็งพิเศษ เหมาะสำหรับตัดวัสดุที่มีความแข็งเป็นพิเศษ ยากต่อการใช้ใบเลื่อยสายพานธรรมดาตัดได้

2. งานตัดไม้

Silco  – ผลิตจากเหล็กซิลิคอนสูง ฟันใบเลื่อยแข็งแรงทนทาน ตัวใบเลื่อยมีความยืดหยุ่นสูง และมีประสิทธิภาพการทำงานสูง เหมาะสำหรับการตัด ไม้, อะลูมิเนียม, ทองเหลือง, ทองแดง, เหล็กหล่อ, แกรไฟต์, ไฟเบอร์กลาส และกลุ่มโลหะอื่นๆที่ไม่ใช่เหล็ก

Silco-Log  – ใบเลื่อยผลิตจากคาร์บอน มีส่วนผสมของซิลิคอนกันความร้อนได้ดี มีคลองเลื่อยที่ระบายขี่เลื่อยได้ดี ผลิตมาสำหรับงานตัดไม้โดยเฉพาะ เป็นใบเลื่อยตัดไม้ประเภท Standard เหมาะกับการใช้งานกับเครื่อง log sawing

Silver-Log – เป็นสินค้าใหม่สำหรับประเภทงานตัดไม้ มี 2 รุ่น คือ รุ่นทั่วไป กับ รุ่น dust remover เป็นเชฟฟันพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อให้มีประสิทธิภาพงานตัดที่ดีขึ้น ปรับปรุงมาจากตัว Silco-Log รุ่น dust remover เป็นรุ่นพิเศษที่มีคุณสมบัติคือ ทำให้เกิดฝุ่นจากการตัดน้อยมากที่สุดอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับใบเลื่อยตัดไม้ประเภทอื่นๆในตลาด

3. ประเภทตัดเนื้อสัตว์และโครงกระดูก

Primecut – คมฟันออกแบบมาพิเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์และกระดูกเกิดการสูญเสียเนื้อน้อย ใบเลื่อยมีอายุการใช้งานนาน เหมาะสำหรับงานตัดผลผลิตประเภทอาหาร ทั้งของสดและของแช่แข็ง ตัวอย่างเช่น เนื้อสัตว์รวมถึงโครงกระดูกด้วย

Seacut – ผลิตด้วยเหล็กแผ่นที่มีคุณภาพดีสูงสุด คมฟันออกแบบมาพิเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิด ใบเลื่อยมีอายุการใช้งานนาน เหมาะสำหรับงานตัดอาหารทะเลแช่แข็ง เกิดการสูญเสียเนื้อน้อย ใบเลื่อยมีอายุการใช้งานยาวนาน

4. ประเภทตัดวัสดุเนื้ออ่อน ประเภทต่างๆ เช่น โฟม ยาง ผ้า ฟองน้ำ สำลี ขนมปัง

Straight edge – เหมาะสำหรับงานตัดวัสดุเนื้อนิ่มหรือวัสดุที่ทำจากเส้นใยต่างๆ

Scallop edge – เหมาะสำหรับงานตัดวัสดุที่เน้นชิ้นงานสำเร็จไม่เน้นผิวงานเรียบเนียน (สามารถใช้ทดแทน Wavy ได้ในบางงาน)

Wavy edge – เหมาะสำหรับงานตัด เช่น ฟองน้ำเซลลูโลส ขนมปัง ขนมเค้ก ยาง ปะเก็น หนัง อะลูมิเนียมเนื้ออ่อน กระดาษลูกฟูก ล้อขัดเงา (สามารถใช้ทดแทน Scallop ได้ในบางงาน)

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการตัดงานสูงสุด ภายใต้ต้นทุนในการตัดที่ต่ำ (cost per cut) นอกจากการพิจารณาเลือกใบเลื่อยสายพานที่มีคุณภาพแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กัน คือ การเลือกประเภทเครื่องเลื่อยให้ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะงานที่จะตัด เพราะทั้งสององค์ประกอบจะมีผลอย่างมากต่อจำนวนชิ้นงานตัด อายุการใช้งาน และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถขอรับคำปรึกษาและข้อแนะนำเพิ่มเติมได้โดยตรงจากผู้จัดจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์อย่าง  Pacific Mercury

ตัวอย่างเครื่องเลื่อยสายพานคุณภาพสูง:

GEORGE (จอร์จประเทศไต้หวัน – เป็นเครื่องตัดแนวนอนเหมาะกับลูกค้าที่ต้องการเครื่อง manual หรือ SemiAuto และลูกค้าที่ต้องการเครื่องตัดเอียงองศาได้

T-JAW (ทีจอว์ประเทศไต้หวัน – เปนเครื่องตัดแนวตั้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในชอปงาน Maintenance ของโรงงาน รวมถึงไลน์ผลิตของโรงงาน

COSEN (โคเซ็นประเทศไต้หวัน – เป็นเครื่องตัดแนวนอน มีหลายขนาด หลายประเภทงานตัด เหมาะกับโรงงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ประเภทเครื่องมีทั้งแบบ Manual Semi-Auto Automatic และ CNC และสามารถสั่งผลิตเครื่องตามความต้องการใช้งานของลูกค้าได้

ทั้งนี้ สเปคของเครื่องและขนาดของเครื่องขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทงานตัดของลูกค้า

เมื่อได้รับคำแนะนำหรือสิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อใบเลื่อยสายพานและเครื่องเลื่อยสายพานอย่างเหมาะสมแล้ว ผลผลิตสูงสุดที่มาจากประสิทธิภาพการทำงานอันยอดเยี่ยมก็ย่อมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม


เกี่ยวกับ Pacific Mercury:

บริษัท แปซิฟิก เมอร์คิวรี่ จำกัด เราเป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องเลื่อยสายพานตัดเหล็ก ทั้งแนวตั้งและแนวนอน นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ยี่ห้อ COSEN, GEORGE และ T-JAW อีกทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่าย ใบเลื่อยสายพานตัดเหล็ก จากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ HAKANSSON ประเทศเยอรมนี ยี่ห้อ Eberle และประเทศญี่ปุ่น ยี่ห้อ Amada โดยบริษัทมีทีมช่างมืออาชีพคอยให้บริการทุกท่านทั่วประเทศ

ติดต่อโทร: 061-576-1182
Line ID: @pacificmercury
Email: [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติม: บริษัท แปซิฟิก เมอร์คิวรี่ จำกัด (industry.in.th)

Logo-Company
Store Master - Kardex