Thai Murata
iscar
วีริศ” ย้ำมาตรฐานควบคุม “สารอินทรีย์ระเหย” นิคมฯ มาบตาพุดฯ
วีริศ” ย้ำมาตรฐานควบคุม “สารอินทรีย์ระเหย” นิคมฯ มาบตาพุดฯ

“วีริศ” ย้ำมาตรฐานควบคุม “สารอินทรีย์ระเหย” นิคมฯมาบตาพุดฯ 

Date Post
06.02.2023
Post Views

“วีริศ” ย้ำมาตรฐานควบคุม “สารอินทรีย์ระเหย” กลุ่มนิคมฯ มาบตาพุดฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ กม.กำหนดกำชับเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 กระทบสุขภาพพนักงาน-ชุมชนรอบนิคมฯ

วีริศ” ย้ำมาตรฐานควบคุม “สารอินทรีย์ระเหย” นิคมฯ มาบตาพุดฯ

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษมาตั้งแต่ปี 2549 พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMCC) ในพื้นที่มาบตาพุด เพื่อการบริหารจัดการ เฝ้าระวัง ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชน ซึ่งเป็นไปตามโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ กำกับดูแลโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. ผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรม โดยจะมีการเปิดเผยข้อมูล รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้วย

ChatGPT เวอร์ชัน Pro ค่าบริการ 42 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน | FactoryNews ep.43 / 03 Feb 2023

ขณะที่การจัดการสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds : VOCs) กนอ. ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และชุมชน โดยนำมาตรการหลักปฏิบัติที่ดี (Code of Practice) มาใช้กำกับดูแลการประกอบกิจการเกี่ยวกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย ซึ่งเป็นการใช้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญการศึกษา 

ทั้งนี้ ในปี 2565 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำหลักปฏิบัติที่ดีประกาศใช้เป็นกฎหมาย จำนวน 3 ฉบับ โดย กนอ. ได้นำประกาศดังกล่าวมาใช้ในการบริหารจัดการโรงงานในพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ซึ่งประกอบด้วย 6 นิคมอุตสาหกรรม และ 1 ท่าเรืออุตสาหกรรม คือ  นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park) นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล (RIL) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด มาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ กนอ. กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องส่งแผนการซ่อมบำรุง รวมถึงการจัดการกากของเสีย น้ำเสีย มาตรการควบคุมการปล่อย หรือระบายสารเคมีสู่บรรยากาศ และมาตรการในการควบคุมหอเผาก๊าซด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยต่อโรงงานหรือชุมชน โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566

“กนอ. เข้มงวดในการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในกำกับดูแล แต่เราก็ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ซึ่งไม่เฉพาะเรื่องของ VOCs เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงเรื่องของการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงการส่งเสริม ยกระดับ และสร้างแรงจูงใจให้กับโรงงาน เช่น การให้รางวัลธงขาวดาวเขียว และรางวัล Eco Factory เป็นต้น” นายวีริศ  กล่าว 

ส่วนกรณีที่มีการรายงานว่า ในพื้นที่มาบตาพุดพบสารก่อมะเร็งในพื้นที่สูงเกินค่ามาตรฐาน-อันตรายต่อสุขภาพจากการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายนั้น จากการตรวจสอบพบว่า รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลงานวิจัยอุบัติการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยในช่วงปี 2557-2560 ที่จังหวัดระยองมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งสูง ซึ่งข้อมูลยังไม่

เป็นปัจจุบัน รวมถึงการรายงานผลตรวจของกรมควบคุมมลพิษว่า พบค่าสารเบนซีนเฉลี่ย 1 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2558 ก็ยังเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ปัจจุบันเช่นกัน

สำหรับพื้นที่จังหวัดระยอง มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 2 พื้นที่ คือ 1) ในเขตควบคุมมลพิษ บริเวณพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล และ 2) นอกเขตควบคุมมลพิษ บริเวณเขตประกอบการไออาร์พีซี 

นอกจากนี้ ยังมีสถานีเก็บตัวอย่างของ กนอ. ในพื้นที่ชุมชน จำนวน 8 สถานี (วัดมาบชะลูด, วัดหนองแฟบ,บ้านมาบตาพุด, วัดโสภณวนาราม, ชุมชนบ้านพลง, มาบตาพุดเมืองใหม่, สาธารณสุขบ้านตากวน และสถานีอนามัยมาบตาพุด) และในพื้นที่นิคมฯ 7 สถานี (สำนักงานนิคมฯ , มุมถนน I-3 ตัด I-4 , พื้นที่ถนน I-2 , ปตท.เคมิคอล I-1 , พื้นที่ถนน I-4 , ทิศตะวันออก และพื้นที่ถนน I-7)

ผู้ว่าการ กนอ. ยังแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่ล่าสุดพบในพื้นที่ 53 จังหวัด ในทุกภูมิภาคของประเทศด้วย โดยขอให้หมั่นอัพเดตสถานการณ์ รวมทั้งประเมินสภาพแวดล้อมรอบตัว และหาแนวทางป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 เพื่อความปลอดภัยของทั้งพนักงานในโรงงาน และชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมด้วย

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex