Kosmo
MOU วิจัยของเสีย
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

สกว. จับมือเบลเยียม วิจัยใช้ประโยชน์จากของเสีย

Date Post
28.06.2018
Post Views

MOU วิจัยของเสีย

สกว.ลงนามความร่วมมือกับสถาบันวิจัย VITO แห่งเบลเยียม เพื่อพัฒนางานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาและเทคโนโลยี มุ่งจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสีย แปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นพลังงานทดแทน และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ Mr. Bruno Reyntjens ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย The Flemish institute for Technological Research (VITO)  ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยมีนายมนัสวี ศรีโสดาพลเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เป็นสักขีพยาน เพื่อพัฒนางานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการจัดการและการใช้ประโยชน์จากของเสีย การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นพลังงานทดแทนและการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. กล่าวว่า สถาบันวิจัย VITO เป็นหน่วยงานวิจัยระดับนานาชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศเบลเยียมและยุโรปที่มีสาขาในประเทศจีนและตะวันออกกลาง เป็นหน่วยงานที่สร้างองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนทางด้านพลังงาน เคมีวัสดุศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดย VITO จะให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดำเนินการวิจัยร่วมกับ สกว. ซึ่งมีบทบาทหลักในการสนับสนุนและบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนานักวิจัย สร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับความร่วมมือกับ VITO ครั้งนี้ รศ. ดร.พงศ์พันธ์ระบุว่า สกว.จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง VITO และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการความร่วมมือทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรให้ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการหารือต่อเนื่องร่วมกันมาหลายครั้ง และทาง VITO ได้เดินทางมาเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งพัฒนาโจทย์ในการทำงานร่วมกับ สกว. มาหลายเดือน

“การลงนามครั้งนี้นับเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นแนวทางและเทคโนโลยีสำหรับการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียในโครงการ “การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการบำบัดของเสียและน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตกาแฟคั่ว” ที่มี  รศ.ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหัวหน้าโครงการ และมีมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงราย เป็นผู้ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับ VITO ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและนักวิจัยร่วมในโครงการนี้ โดยมีสำนักประสานงานชุดโครงการ “อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ” ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับข้อเสนอโครงการและการเจรจาความร่วมมือกับ VITO”

ในโอกาสนี้คณะผู้บริหาร สกว. ได้ประชุมหารือความร่วมมือกับ ศ.กีโด้ รองประธานด้านองค์กรระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเกนต์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของเบลเยียม โดยเฉพาะในประเด็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาโครงการปริญษาเอกกาญจนาภิเษกของ สกว. มาทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และยังทำหน้าที่เป็นประธานนักศึกษาไทยในเบลเยียมด้วย โดย สกว. และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะหารือในรายละเอียดต่อไปเพื่อลงนามความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต สกว.ฝ่ายอุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร

นอกจากนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแอนต์เวิร์ป เมืองท่าสำคัญของเบลเยียมและยุโรป รวมถึงโครงการ City of Things (CoT) ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์ IMEC ซึ่งเป็นองค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาระดับโลก และศูนย์กลางนวัตกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์นาโนและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนรายใหญ่ทั้งซัมซุง แอปเปิล หัวเหว่ย เป็นต้น โดยเมื่อสองปีที่ผ่านมา IMEC ได้รวมตัวกับองค์กรไม่แสวงหากำไรอย่าง iMinds ที่มีความเชี่ยวชาญสูงด้านซอฟต์แวร์ทำให้เสริมความเข้มแข็งของ IMEC ได้เป็นอย่างดี

โครงการ City of Things เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนหลักจากภาครัฐ ที่มุ่งการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีและการแก้ปัญหาด้านเมืองอัจฉริยะโดยเน้นทำงานภายใต้ความร่วมมือจาก 4 ฝ่าย ที่เชื่อมโยงกับชุมชน เอกชน นักวิจัย และภาครัฐ ตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์เพื่อลดการต่อต้าน และเปิดรับฟังความต้องการของชุมชน โครงการสำคัญที่กำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่ไฟจราจรอัจฉริยะ โลจิสติกส์ แสง ตัวควบคุมคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ และสัญญาณเตือนภัยและหลีกเลี่ยงน้ำท่วม เป็นต้น

ทั้งนี้ เมืองแอนต์เวิร์ปได้กำหนดให้มีโซนอัจฉริยะอยู่ใจกลางเมือง มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตร เพื่อทดสอบแอปพลิเคชันต่างๆ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากการพยายามประสานกับทุกภาคส่วน นอกจากนี้โดยรอบมหาวิทยาลัยยังมีซิตี้แล็บที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoTs เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการส่งข้อมูลด้วย

 

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
MMThailand
"This is example bio for author can be change at user profile in wordpress" --TEST
Store Master - Kardex