Intelligent Asia Thailand 2025
สนพ.เผยการปล่อย CO2 ภาคพลังงานครึ่งปี 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7

สนพ.เผยการปล่อย CO2 ภาคพลังงานครึ่งปี 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7

Date Post
04.10.2022
Post Views

สนพ. เผยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคพลังงานครึ่งปี 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปี 2565 พบว่า เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ของภาครัฐ ส่งผลให้การใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเภทพลังงาน ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบดัชนีการปล่อยก๊าซ CO2 ภาคพลังงานของประเทศไทยกับต่างประเทศพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงาน และอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้า (kWh) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศจีน) และประเทศจีน

[Factory News Live!] WeeklyReport | FactoryNews ep.28 / 30 Sep 2022 

นายวัฒนพงษ์ กล่าวว่า การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปี2565 อยู่ที่ 131.8  ล้านตัน CO2 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ในขณะที่ภาคการผลิตไฟฟ้าลดลง สำหรับการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานของประเทศในช่วงอดีตที่ผ่านมานั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่หลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจาก 145.5 ล้านตัน CO2  ในปี 2541 เป็น 263.4 ล้านตัน CO2 ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ต่อปี สอดคล้องกับการใช้พลังงานของประเทศที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ต่อปี ส่วนปี 2562 การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานอยู่ที่ 257.4 ล้านตัน CO2 ซึ่งลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล จึงท่าให้การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานลดลงแม้ว่าจะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2564 การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานอยู่ที่ 244.0 ล้านตัน CO2 ซึ่งลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 

นายวัฒนพงษ์ กล่าวว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ในไตรมาส 2/2565 ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทย ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 2.3 ทั้งนี้เป็นผลกระทบจากส่งออกบริการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 54.3 เช่นเดียวกับการบริโภคภาคเอกชน และการอุปโภคภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งภาคการผลิตที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงาน ดังนี้ ภาคการขนส่ง มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 ร้อยละ 30 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ภาคอุตสาหกรรม มีการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.9 อยู่ที่ร้อยละ 63.8 ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 ร้อยละ 5 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.1 ในขณะที่ ภาคการผลิตไฟฟ้า มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 สูงสุด คือ ร้อยละ 32 ของการปล่อยก๊าซ CO2 ทั้งหมด มีการปล่อยก๊าซ CO2 ลดลงร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายชนิดเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงหลักที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์ โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 พบว่า น้ำมันสำเร็จรูปมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 สูงที่สุด คือ ร้อยละ 40 รองลงมา คือ ถ่านหิน/ลิกไนต์ ร้อยละ 31 และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 29 ทั้งนี้ น้ำมันสำเร็จรูป มีการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.1 ถ่านหิน/ลิกไนต์ มีการปล่อยมีการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติมีการปล่อยก๊าซ CO2 ลดลงร้อยละ 3.6 

นายวัฒนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานของประเทศไทยกับต่างประเทศแล้วจะพบว่า ประเทศไทยนั้นมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่ระดับเฉลี่ย 2.06 พันตัน CO2 ต่อการใช้พลังงาน 1 KTOE ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศจีน) ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน รวมทั้งค่าเฉลี่ยของโลกการที่ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานก็ค่อนข้างต่ำเช่นกัน เนื่องมาจากปรเทศไทยมีนโยบายด้านพลังงานที่คำนิงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2022) ซึ่งแผนดังกล่าวมีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกมากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศตามหลักเกณฑ์ของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Intelligent Asia Thailand 2025