ส.อ.ท. เปิดแผนป้องกันโควิด-19 ภาคอุตสาหกรรม

Date Post
30.07.2021
Post Views

ส.อ.ท.เตรียมแนวทางการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม และจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแบบ Community Isolation 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากที่ ส.อ.ท. ได้จัดตั้ง “คณะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19” อย่างเร่งด่วนภายใต้มาตรการ “ป้องกัน รักษา เยียวยา” เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน สังคม สมาชิกและผู้ประกอบการไทยนั้น ส.อ.ท. ยังได้จัดเตรียมแนวทางการป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม โดยได้มีการประชุมหารือกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564โดยท่านรองนายกฯ ได้อนุมัติใน 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 

มองหาเครื่องเลื่อยสายพานใหม่ ต้องดูคลิปนี้! | Pacific Mercury [Super Source]

1. การจัดอบรมวิธีการใช้ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน ATK อย่างถูกต้อง โดยให้ตรวจอย่างน้อย 20% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด 

2. การจัดอบรมการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในสถานประกอบการด้วยการทำ Bubble and seal โดยไม่ต้องปิดโรงงานสำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ส่วนสถานประกอบการที่มีพนักงานน้อยกว่า 200 คน แนะนำให้ใช้มาตรฐาน Thai Stop Covid ของกระทรวงอุตสาหกรรม 

และ 3) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการรูปแบบ Community Isolation รับรองโดยสาธารณสุขจังหวัดและดูแลโดยโรงพยาบาลในสังกัดประกันสังคม ซึ่งสถานประกอบการแต่ละแห่งจะต้องมี Heathy Leader อย่างน้อย 2 คน 

นอกจากนี้ จะมีการนำระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (Exposure Notification Express: ENX) ที่พัฒนาขึ้นโดย Google และ Apple มาใช้เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดลดการติดเชื้อและการเสียชีวิต ซึ่ง ส.อ.ท. เสนอตัวเป็นผู้ดูแลระบบและประสานงาน โดยจะนำร่องเพื่อใช้งานในภาคอุตสาหกรรมก่อน

ทั้งนี้ ส.อ.ท. ขอเชิญร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดหาห้องความดันลบช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ได้ที่ชื่อบัญชี มูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม เลขที่บัญชี 009-1-71583-0 ธนาคารกรุงไทยสาขาไทยเบฟควอเตอร์ (ใบบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 100%) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน ส.อ.ท. หมายเลข 1453 ทุกปัญหาอุตสาหกรรมมีคำตอบ

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex