นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard พัฒนาเซนเซอร์แบบสวมใส่ที่มีผิวสัมผัสนุ่มและปราศจากสารพิษซึ่งสามารถติดอยู่กับมือและตรวจวัดแรงกดที่เกิดขึ้น รวมถึงการเคลื่อนไหวของนิ้วและมือได้ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปจต่อยอดใช้งานทางการแพทย์ Human-Computer Interface และ VR ได้
ปัจจัยสำคัญของเซนเซอร์ คือ ปลอพสารพิษและเหนี่ยวนำโดยสารละลายของเหลว ซึ่งสารละลายนี้ไม่ได้มีอันตรายมากไปกว่าหยดน้ำเกลือ ซึ่งวัสดุรูปแบบใหม่ดีมีความสามารถในการเหนี่ยวนำดีกว่าสารละลายชีวภาพที่ใช้กันก่อนหน้าถึง 4 เท่า ทำให้ได้ข้อมูลที่สะอาดและมีข้อมูลรบกวนน้อยกว่า
วัสดุเซนเซอร์ทำขึ้นจากสารละลาย Potassium Iodide และ Glycerol ซึ่งมักเติมในอาหารโดยทั่วไปอยู่แล้ว หลังจากผสมไปชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว Glycerol ทำให้สภาวะผลึกของ Potassium Iodide แตกออกและก่อให้เกิด Potassium Cations (K+) และ Iodide Ion (I-) สร้างสารเหนี่ยวนำ ซึ่งวัสดุสุดท้ายจะเซนเซอร์ ซิลิคอน-ยาง ที่สามารถแนบชิดไปกับอวัยวะอย่างนิ้วได้
การติดตั้งเซนเซอร์ไว้ที่ปลายนิ้วจะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างแม่นยำจากการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งจุดเด่นของการใช้งานเซนเซอร์ดังกล่าว คือ การตรวจจับการทำงานของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพแตกต่างจกาเทคโนโลยีอื่น เช่น Motion Capture ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวแต่ไม่สามารถตรวจวัดแรงที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งการตรวจจับกล้ามเนื้อเป็นส่วนสำคัญในการแสดงการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุความผิดปรกติที่เกิดขึ้น
ที่มา:
Wyss.harvard.edu