ประเทศจีนถือเป็นโรงงานของโลก มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษในยุคโลกภิวัฒน์ ทำให้เกิดการบูรณาการซีพพลายเชนที่แข็งแกร่ง แต่ด้วยปัญหาการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้เกิดการติดขัดของซัพพลายเชนขึ้นกลางหัวใจของโรงงานโลก ทำให้ผู้ผลิตต่างมองหาความยั่งยืนและเสถียรภาพของซัพพลายเชนใหม่ ๆ นอกจากประเทศจีนขึ้นมา
ก่อนการระบาดใหญ่นั้นประเทศจีนต้องเผชิญหน้ากับนโยบายสงครามการค้าจาก Donald Trump ทำให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงการลงทุนในภาคการผลิตของจีนไม่น้อย และการมาถึงของ COVID-19 เป็นเหมือนการตอกฝาโลงซ้ำให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ความตึงเครียดของสถานการณ์ภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์นั้นส่งผลกระทบไปยังภาคการผลิตและธุรกิจทั่วโลก และเมื่อปัญหานี้เกิดขึ้นที่หัวใจของธุรกิจผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงขยายตัวและทิ้งท้ายผลลัพธ์อันน่าเศร้าไว้ได้อย่างยาวนาน ยกตัวอย่างเช่น การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ยังไม่ฟื้นตัวดีเป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจจำนวนมากจึงหาทางหลีกเลี่ยงการผูกขาดอยู่กับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพิ่มการกระจายความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการดึงฐานการผลิตกลับมาตุภูมิหรือการโยกย้ายไปยังสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่า โดย 5 ประเทศที่กลายเป็นหมุดหมายสำหรับภาคธุรกิจ ได้แก่
อินเดีย
ประเทศอินเดียนั้นมีความพยายามในการก้าวมาแทนที่ประเทศจีนในฐานะผู้ผลิตระดับไฮเอนด์ เช่น การย้ายฐานการผลิต iPhone หรือผู้ผลิตชิปต่าง ๆ โดยข้อมูลจาก UN ในส่วนของแผนกเศรษฐกิจและสังคมคาดว่าจะแซงหน้าจีนได้ในปี 2023 นี้ ด้วยจุดเด่นที่มีแรงงานจำนวนมหาศาล มีประวัติศาสตร์ด้านการผลิตมายาวนานและมีการสนับสนุนจากภาครัฐที่น่าสนใจ
เวียดนาม
เวียดนามนั้นมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1986 เป็นการปรับเปลี่ยนจากหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดสู่ประเทศรายได้ปานกลางได้ในช่วงอายุคนเพียงช่วงเดียว ในปี 2021 เวียดนามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า 31.15 พันล้านดอลลาร์ โดยกว่า 60% ของการลงทุนอยู่ในภาคการผลิต โดยจุดแข็งของการผลิตเวียดนามอยู่ที่เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบไฟฟ้า ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ย้ายฐานการผลิตมาแล้ว ได้แก่ Nike, Adidas, และ Samsung
ไทย
FDI ของประเทศไทยนั้นพุ่งทะยานขึ้นกว่า 3 เท่าระหว่างปี 2020 และ 2021 ประเทศไทยนั้นมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดแข็งของห่วงโซ่มูลค่าอยู่ที่ชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผู้ผลิตหลากหลายชาติมีฐานการผลิตอยู่ที่นี่ เช่น Sony ที่ย้ายฐานการผลิตสมาร์ทโฟนจากปักกิ่งในปี 2019 เพื่อลดต้นทุนและหันมาสร้างสายการผลิตบางส่วนที่ประเทศไทย และในปีเดียวกัน Sharp ได้ย้ายฐานการผลิคเครื่องพิมพ์มายังประเทศไทยเพราะผลกระทบจากสงครามการค้าเป็นต้น และแม้แต่บริษัทจีนบางแห่งก็ยังมีการโยกย้ายซัพพลายเชนบางส่วนมายังประเทศไทยอีกด้วย เช่น โรงงานผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ Shanghai’s JinkoSolar เป็นต้น คาดว่ามีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติเป็นมูลค่ากว่า 455.3 ล้านบาท หรือ 13.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประกาศข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
บังกลาเทศ
บังกลาเทศเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และตอนนี้ก็มีความต้องการได้สัดส่วนจากการโยกย้ายมากขึ้น ซึ่งจุดแข็งของบังกลาเทศอยู่ที่ค่าแรงที่ต่ำสวนทางกับต้นทุนค่าแรงของจีนที่ทะยานขึ้นจากนโยบายของ Trump โดยค่าแรงของบังกลาเทศอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ในขณะที่ต้นทุนค่าแรงในจีนใต้อยู่ที่ประมาณ 670 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสินค้าเด่นของบังกลาเทศ คือ เครื่องนุ่งห่มสิ่งทอ คิดเป็น 85% ของการส่งออกหรือคิดเป็นมูลค่า 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการส่งออกปี 2021 นับเป็นประเทศที่มีกรส่งออกสิ่งทออันดับ 2 ของโลกรองจากจีน
มาเลเซีย
ต้องบอกว่ามาเลเซียนั้นถูกนักลงทุนจับจ้องมาอย่างยาวนานในบทบาทของการย้ายถื่นฐานการผลิตจากจีน ซึ่งมีการดึงดูดโครงการจากจีนมาแล้วกว่า 32 โครงการซึ่งเป็นข้อมูลจากหน่วยงานการลงทุนของมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม 2020 การดึงดูดการลงทุนที่เกิดขึ้นนั้นในบางภาคส่วนเกิดขึ้นก่อนการระบาดใหญ่เสียอีก เช่น การผลิตเทคโนโลยี เป็นผลจากค่าแรงที่ต่ำและความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยการลงทุนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลค่ากว่า 339 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากพิจารณา FDI จะพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 48.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2021 เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา:
businessinsider.com
เนื้อหาที่น่าสนใจ: Sony ย้ายฐานการผลิตกล้องสำหรับสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นจากจีนเป็นประเทศไทย |