ไมโครซอฟท์ จับมือ กฟผ. เสริมแกร่งองค์การ
ไมโครซอฟท์ จับมือ กฟผ. เสริมแกร่งองค์การ

ไมโครซอฟท์ จับมือ กฟผ. เสริมแกร่งองค์การ เดินหน้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว

Date Post
24.05.2022
Post Views

ไมโครซอฟท์ จับมือ กฟผ. เสริมแกร่งองค์การ ยกระดับการทำงานด้วยดิจิทัล เดินหน้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว สร้างนวัตกรรมพลังงาน ผลักดันประเทศไทยสู่สังคมปลอดคาร์บอน 

 นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจเพื่อสร้างมูลค่าและขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่าง กฟผ. และไมโครซอฟท์ ประเทศไทย โดยมีหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทยและที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูงจากทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยาน  โดยความร่วมมือดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบระยะเวลา 3 ปี ครอบคลุมการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ได้แก่

•สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการศึกษาและสำรวจศักยภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงแพลตฟอร์มคลาวด์เพื่อเร่งการสร้างมูลค่าและนวัตกรรมทางธุรกิจ เช่น การจัดการพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 

การจัดเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System) และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) ไปจนถึงการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage) เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์

เทคโนโลยีชีวภาพใหม่ จากเศษไม้เหลือทิ้งสู่การผลิตไบโอไฮโดรเจน | Factory News EP.10

•ปฏิรูปกระบวนการดำเนินงานของ กฟผ. ให้ทันสมัย ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในองค์การให้เป็นดิจิทัล นำองค์ความรู้ด้านดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการองค์การ รวมถึงระบบภายในโรงไฟฟ้า การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการปล่อยคาร์บอนของทั้งองค์การ และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

•เสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานของ กฟผ. ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ด้วยการจัดทำข้อมูลให้ทันสมัย ใช้งานนวัตกรรมและคลาวด์ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและพัฒนาธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการทำงานภายในองค์การ รวมถึงพลิกโฉมโครงสร้างด้านไอที พร้อมพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้ได้มาตรฐานระดับโลก

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า “กฟผ. เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้ Digital มา Transformation ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและธุรกิจสำหรับอนาคตได้ โดยดิจิทัลจะกลายเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการบริหารจัดการระบบพลังงานทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ของประเทศ  ตามยุทธศาสตร์ Triple S ของ กฟผ. ตั้งแต่ S-Sources Transformation ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเทคโนโลยีดิจิทัลจะสนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อรองรับแหล่งผลิตพลังงานสะอาดที่จะมีเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการพยากรณ์ การควบคุม และการใช้งานร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage) 

สำหรับ S ที่สอง S-Sink Co-Creation ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการติดตามข้อมูลเพื่อบริหารจัดการป่าที่ กฟผ. และเครือข่ายพันธมิตรตั้งเป้าร่วมกันปลูก 1 ล้านไร่ ให้คงอยู่เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) ที่จะทำให้แหล่งผลิตไฟฟ้าไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ S-Support Measures Mechanism ที่จะใช้ดิจิทัลมาบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในอาคารและในชุมชน ด้วยรูปแบบ Smart Grid รวมไปถึงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านภาคขนส่งให้มาใช้ไฟฟ้าอย่างเชื่อมโยงกันเป็น E-mobility นอกจากนี้ กฟผ. จะนำดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายในองค์การ (EGAT Transformation) ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ทีมงานเสนอ ปรับปรุง ตลอดจนนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมากขององค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขับเคลื่อนองค์การสู่อนาคตต่อไป”

“ความร่วมมือครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนองค์การ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำไปสู่การสร้างประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนของประเทศ ตามแนวคิดของ กฟผ. “EGAT for All กฟผ. เป็นของทุกคน เพื่อทุกคน”

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “ไมโครซอฟท์ มุ่งผลักดันให้ลูกค้าและพันธมิตรนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ 

โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของการปลดล็อกปัจจัยเชิงโครงสร้างควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะบุคลากร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน 

นอกจากนี้ เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยผลักดันเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนให้เป็นลบของไมโครซอฟท์ในปี ค.ศ. 2030 เป็นจริงได้ ควบคู่ไปกับเป็นแรงผลักดันให้ กฟผ. สามารถบรรลุเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 ได้สำเร็จ”

นายมานิช พากาซ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลุ่มธุรกิจภาครัฐ ภาคการศึกษา และสาธารณสุข บริษัท ไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวเพิ่มเติมว่า “ไมโครซอฟท์ มีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนและเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลของ กฟผ. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่คนไทยทุกคน เพื่อพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์