ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ต่อยอดพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลในเฟสที่สอง

Date Post
28.12.2021
Post Views

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเฟสที่สอง ณ ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเสริมความร่วมมือของทีมงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในเฟสที่สองที่ดำเนินการมาตลอดปี 2564 นี้ได้มีการติดตั้งระบบอัตโนมัติและการปรับปรุงการบริหารเพื่อพัฒนาระบบการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้แพลตฟอร์มดิจิทัลของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ที่ดำเนินการนี้ยังเอื้อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง

การยกระดับระบบปฏิบัติการของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ในครั้งนี้จะช่วยเสริมศักยภาพในการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (E-invoice) การคัดเลือกและประเมินซัพพลายเออร์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Supplier Evaluation) และความรวดเร็วให้กับส่วนงานปฏิบัติการท่าเรือให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การพัฒนาระบบดิจิทัลที่เกิดขึ้นนั้น ประกอบด้วย การติดตั้งระบบการปฏิบัติงานที่ควบคุมจากระยะไกลสำหรับปั้นจั่นยกตู้สินค้าที่ท่าเทียบเรือ D ในท่าเรือแหลมฉบัง การใช้รถบรรทุกระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และกระบวนการปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้การออกคำสั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์บนแพลตฟอร์ม Global Shipping Business Network  นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่จดบันทึกด้วยระบบอาร์เอสไอดีแบบติดตั้งภายในรถบรรทุก (In-truck RFID) และบริการรับชำระบิลข้ามธนาคาร ที่ช่วยให้การชำระเงินเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เราให้ความสำคัญในการลงทุนเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่นี้ และเห็นได้ว่าผลที่ได้นั้นคุ้มค่าเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้เราเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับลูกค้าและผู้ใช้บริการท่าเรือรายอื่น ๆ และเราจะเดินหน้าลงทุนพัฒนาระบบที่ทันสมัยต่อไปเพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินงานของเรา และสิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น อันถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก” 

แพลตฟอร์มดิจิทัลของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (Hutchison Ports Thailand Digital Platform) หรือ HPTDP นับเป็นหนึ่งในระบบการทำงานที่ทันสมัยที่นำเข้ามาช่วยในการดำเนินงานของบริษัทไม่ว่าจะเป็นงานของฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล และฝ่ายกิจการองค์กร รวมถึงงานต่าง ๆ ในลานและหน้าท่า

ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลของฮัทชิสัน พอร์ท ยังเอื้อประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ สามารถรถลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้มากถึง 11% หรืออย่างการใช้ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าและรถบรรทุกระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้พลังงานไฟฟ้ายังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงสิบเดือนแรกของปี 2564 ได้ถึง 12% เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซในปี 2563 ตลอดทั้งปี

ลูกค้าเองยังสามารถติดต่อประสานงานผ่านระบบดิจิทัลได้ไม่ว่าอยู่ที่ใด ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถตรวจสอบสถานะสินค้าหรือโอนชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายผ่านสมาร์ทโฟน

“ในโลกดิจิทัลยุคใหม่ ความคาดหวังของลูกค้ากำลังเปลี่ยนไป และสิ่งสำคัญในฐานะของผู้นำในธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าคือเราต้องสามารถนำส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำตรงตามที่พวกเขาต้องการ เราเองมีการวางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพของเราให้ดียิ่งขึ้น โดยในปี 2565 นี้เรามีแผนที่จะนำระบบช่องทางผ่านเข้า-ออกท่าเทียบเรืออัตโนมัติ และใบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานในเฟสแรก เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบดิจิทัลในอนาคต ตลอดจนประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับกับการพัฒนานั้น ๆ” มร. สตีเฟ้นท์ กล่าวเสริม 

ข้อมูลเกี่ยวกับฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย  

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับการออกแบบก่อสร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจขนส่งตู้สินค้าของประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ลงมาเพียง 130 กิโลเมตร HPT ให้บริการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ รวมถึง บริการสถานีขนถ่ายสินค้า ระบบรถไฟขนส่งรางคู่และมีเส้นทางเชื่อมต่อที่ดีกว่าสู่ทางหลวงสายหลักเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางในที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยปัจจุบันเปิดให้บริการในท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 D1 และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาส่วนที่เหลือของท่าเทียบเรือชุด D

HPT เป็นหนึ่งในเครือสมาชิกของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท ซีเค ฮัทชิสัน โฮลดิ้งส์ จำกัด (CK Hutchison Holdings Limited) ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ฮัทชิสัน พอร์ท เป็นผู้ลงทุน พัฒนาและประกอบการด้านท่าเทียบเรือชั้นนำของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือถึง 52 แห่ง กระจายอยู่ใน 26 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการครอบคลุมไปถึงธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ท่าเทียบเรือโดยสาร บริการท่าอากาศยาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการขนส่งด้วยระบบรางและอู่ซ่อมเรือ

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
เปิดให้บริการแล้ว! วินอีวีรักษ์โลกพื้นที่บางกรวย
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Store Master - Kardex