Store Master - Kardex
3D Print Ocular Lens R&D

นวัตกรรมการพิมพ์ 3 มิติสามารถรักษาต้อกระจกและอาการอื่น ๆ ของดวงตาได้

Date Post
30.05.2024
Post Views

นักวิจัยจาก University of East Anglia ได้พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับดวงตาที่สามารถสร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเป็นการใช้เรซินที่ล้ำสมัยในการพิมพ์อุปกรณ์สำหรับลูกตา (Intraocular) ซึ่งนวัตกรรมนี้สามารถยกระดับการผลิตชิ้นส่วนในการปลูกถ่ายดวงตาซึ่งนิยมใช้รักษาต้อกระจกและการผ่าตัดการหักเหของแสงในดวงตาที่เกิดขึ้น

Intraocular Lens (IOL) หรือเลนส์ลูกตาเทียมนั้นเป็นที่ต้องการสำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจกซึ่งมักพบได้ในดวงตาธรรมชาติ เมื่อเกิดอาการมองไม่ชัดเจนเหมือนมีเมฆหมอกบัง นอกจากนี้ยังใช้ในการแก้ไขการตกกระทบของแสงที่ผิดเพี้ยน เช่น สายตาสั้น, สายตายาว และสายตายาวที่เกิดขึ้นตามอายุได้อีกด้วย

ในขั้นตอนเบื้องต้นนั้นการพิมพ์เลนส์ด้วยการพิมพ์ 3 มิติสามารถช่วยดูแลดวงตาสำหรับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและมีความแม่นยำสูง นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดียิ่งขึ้น แตกต่างจากในอดีตที่ IOL ถูกผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิดรวมถึงแก้วและซิลิโคน แม้ว่าในยุคหลัง ๆ อุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไปในอคริลิกในกลุ่มสายตายาวตามอายุก็ตาม

ปัจจุบันอคริลิกแบบ Hydrophilic และ Hydrophobic มีการใช้งานมากที่สุดเนื่องจากมีความชัดเจนด้านสายตาที่ยอดเยี่ยม รวมถึงความยืดหยุ่นและความเข้ากันได้ทางชีววิทยากับร่างกาย ความปลอดภัย และความเสถียรในการใช้งาน โดยกระบวนการในการผลิต IOL มักใช้การกลึงและแม่พิมพ์เป็นหลัก แม้ว่าเทคนิคการผลิตเหล่านี้จะทำให้การผลิตมีการออกแบบที่ดีและมีคุณภาพกับการใช้งานกับสายตาในระดับสูง ทว่ายังคงเต็มไปด้วยข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการออกแบบที่ต้องการความซับซ้อนและต้องการการปรับแต่ง ซึ่งการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถเพิ่มความสามารถในการผลิตของอุปกรณ์สำหรับดวงตาไม่ใช่เพียงความเร็วเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความแม่นยำในการผลิตและรองรับความซับซ้อนที่การผลิตแบบอื่นไม่สามารถมอบให้ได้อีกด้วย

แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะอยู่ในช่วงพัฒนาแต่ก็สามารถสังเกตถึงจุดเด่นได้หลากหลายประการ ได้แก่

  • การผลิตเลนส์เฉพาะบุคคล: การพิมพ์ 3 มิติสามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปทรงดวงตาผู้ป่วยแต่ละคนและความต้องการทางสายตาที่มีได้ ทำให้เพิ่มความถูกต้องของการมองเห็นและความสะดวกสบาย
  • ผลิตได้ไวกว่าเดิม: เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตทั่วไป การพิมพ์ 3 มิติ ทำให้การออกแบบ การทดสอบ และการผลิตเลนส์เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ซึ่งความเร็วเหล่านี้สามารถลดเวลาระหว่างการวิเคราะห์และการผ่าตัดได้ ทำให้เกิดการดูแลผู้ป่วยได้ไวยิ่งขึ้น
  • รองรับการออกแบบที่ซับซ้อน: การพิมพ์ 3 มิติมีความเป็นไปได้ในการสร้างรูปทรงเลนส์ที่ซับซ้อนได้ซึ่งเคยเป็นเรื่องยากในการทำขึ้นมา ซึ่งการออกแบบเหล่านี้จะตอบสนองต่อปัญหาด้านการมองเห็นได้กว้างมากขึ้น
  • ลดต้นทุน: การพิมพ์ 3 มิติ สามารถลดต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนที่ต้องปรับแต่งหรือมีคุณภาพสูงลงได้ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลในเรื่องของสุขภาพสำหรับภาพรวมที่เกิดขึ้น
  • รองรับภาพที่ดี: ทีมวิจัยหวังว่าการผสมผสานเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เข้ากับเทคโนโลยีด้านภาพที่ทันสมัยในอนาคตจะช่วยในการผลิตเลนส์ที่เหมาะสมลงตัวกับผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยลดความต้องการในการปรับแต่งหรือความซับซ้อนยุ่งยากหลังผ่าตัด
  • นวัตกรรมด้านวัสดุ: การพิมพ์ 3 มิติเปิดทางให้สามารถพัฒนาวัสดุใหม่ ๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของสายตา ซึ่งอาจทำให้เกิดเลนส์ที่ไม่เพียงจะมอบสายตาที่ดีเท่านั้นแต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกด้วย

ที่มา:
uea.ac.uk

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Intelligent Asia Thailand 2025