4 ประเด็นสำคัญในการรับมือความท้าทายแห่งอนาคตที่ CEO ต้องรู้!

26.01.2023

World Economic Forum ได้แบ่งปันบทความจาก PWC สำหรับ CEO ในการเอาชนะความท้าทายของการแข่งขันในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งบทความดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมประจำปีของ WEF ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นทั้งทักษะและเงื่อนไขที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว

CEO นั้นเป็นเหมือนกัปดันเดินเรือที่ต้องรับมือกับคลื่นและลม เพื่อนำพาเรือไปให้ถึงจุดหมาย กัปตันเรือทุกคนรู้ว่าคลื่นบนพื้นผิวทะเลนั้นสามารถจมเรือลงได้ ดังนั้นทุกการเดินทางที่เกิดขึ้นต้องมีความระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสน้ำวนอาจเป็นอะไรที่ยากจะมองเห็นและทรงพลังอย่างเหลือเชื่อ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนความท้าทายที่ CEO ต้องเจอในการนำพาธุรกิจไปข้างหน้า

ข้อมูลจากการสำรวจของ PWC’s 26th Annual Global CEO Survey พบว่า 4 ใน 10 บริษัทไม่อาจอยู่รอดได้ในอีก 10 ปีข้างหน้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่จริงจังและลงลึกซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว โดย CEO มองเห็นปัจจัยอันหลากหลายที่เป็นแรงกระแทกให้กับธุรกิจที่ไม่ยอมปรับตัว และ 73% คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงตลอดช่วง 12 เดือนที่จะมาถึง โดยมีปัจจัยที่หลากหลายประการ เช่น การเปลี่ยนดีมานด์ของลูกค้า เงินเฟ้อ หรือการขาดแคลนทักษะและการก่อกวนของเทคโนโลยี ไปจนถึงการระเบิดของข้อมูลจำนวนมหาศาล จากข้อมูลที่ PWC ได้ศึกษาผ่านลูกค้าและพันธมิตรธุรกิจจึงได้ข้อสรุปมาเป็นแนวทางของ CEO ในการนำทางธุรกิจเพื่อความอยู่รอดและการแข่งขัน

mmthailand Sustainability

1. CEO ต้องใส่ใจกับการลงลึกในการคิดค้นไตร่ตรองสิ่งใหม่

กว่า 40% ของ CEO เชื่อว่าบริษัทของพวกเขาไม่อาจอยู่รอดได้ในอีก 10 ปีข้างหน้าหากไม่มีทิศทางของการเปลี่ยนแปลงที่เฉียบคมมากพอ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นกับธุรกิจตั้งแต่สุขภาพไปจนถึงการผลิต การมองการไกลและการหวนกลับมาคิดริเริ่มใหม่เกี่ยวกับคุณค่าขององค์กรสำหรับความสำเร็จในระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องสามารถตอบคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับบริษัทได้อีกด้วย เช่น ‘อะไรคือคุณค่าเฉพาะตัวของบริษัทที่มอบให้กับโลกในวันนี้และวันพรุ่งนี้’

2. CEO ต้องลดต้นทุน ไม่ใช่ผู้คน

52% จากการสำรวจ CEO ระบุว่าการตัดต้นทุนนั้นเป็นการตอบสนองต่อแรงกดดันจากเศรษฐกิจแบบเฉพาะหน้า มีเพียง 16% เท่านั้นที่ลดขนาดของแรงงานลง สิ่งที่ผู้นำเหล่านี้มองเห็นสถานการณ์ของลูกจ้างนั้นอาจจะเหมือนเดิมหรือเลวร้ายลงกว่าเดิม เพราะในท้ายที่สุดแล้วพวกเขามองไม่เห็นปลายทางของการการลาออกครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น และผลที่ตามมา คือ การแข่งขันในการดึงดูดคนที่มีทักษะที่เหมาะสมกับอนคตเข้ามา CEO จำนวนไม่น้อยจึงมองการไกลไปถึงการลงทุนในผู้คนและรักษาคนเอาไว้แทนที่การลดคนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดย PWC ได้สอบถามแรงงาน 52,000 คนสำหรับเหตุผลในการเลือกและเปลี่ยนงาน พบว่าค่าตอบแทนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ลูกจ้างยังคงต้องการความยืดหยุ่นและ Hybrid Working รวมถึงทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้ยังคงมีที่ยืนในการแข่งขัน ทั้งยังมองหาการทำเพื่อส่วนรวมด้วยเป้าประสงค์ที่ใหญ่กว่าเดิม เช่น 75% อยากทำงานในองค์กรที่สร้างหรือส่งผลกระทบทางบวกให้กับสังคม

3. CEO สร้างความยืดหยุ่นและเข้มแข็งให้กับซัพลายเชน

จากการสำรวจพบว่าผู้นำที่เชื่อว่าบริษัทนั้นกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งมักจะดำเนินการปรับ Footprint ทางภูมิศาสตร์และซัพพลายเชน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างกว่า 46% ดำเนินการเรื่องดังกล่าว จากกรณีการระบาดใหญ่ของจีนพบว่าบริษัทจากสหรัฐฯ 17% ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากจีนในระยะเวลา 3 ปี ทั้งลดความเสี่ยงและสร้างเสถียรภาพของซัพพลายเชนให้ดียิ่งขึ้น การสร้างความหลากหลายของซัพพลายเชนเองก็นับเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างเสถียรภาพ นอกจากนี้การทำให้ซัพพลายเชนโปร่งใสและตอบสนองต่อนโยบายสีเขียวมากยิ่งขึ้นก็จะสนับสนุนในประเด็นดังกล่าวด้วยเช่นกัน

4. CEO ต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไม่ใช่เรื่องของอนาคตอันห่างไกล แต่เป็นเรื่องของวันนี้

ในการศึกษาของปี 2021 พบว่า CEO กว่า 58% นับปัจจัยของปัญหาสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเข้าเป็นส่วนหนึง่ของยุทธสาสตร์การบริหารจัดการความเสี่ยง ด้วยการขับเคลื่อนผ่านข้อมูล ยุทธศาสตร์ระดับองค์กรเพื่อลดการปลดปล่อยมลพิษและร่วมแก้ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ CEO คาดการณ์ถึงผลกระทบด้านต้นทุนที่เกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ใกล้ตัวมากขึ้นในช่วง 12 เดือนนับจากนี้

ที่มา:
weforum.org

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
‘อาเซียน’ พื้นที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานยุคใหม่
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire