Taiwan-Excellent

5 วิธีที่ IoT ยกระดับการแก้ปัญหา Downtime ในการผลิต

Date Post
01.02.2022
Post Views

การใช้ IoT ในการผลิตนั้นทำให้ธุรกิจสามารถทำ Digital Transformtaion ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีกลุ่มอุปกรณ์เซนเซอร์ การเชื่อมต่อ และ Dashboard เพื่อให้ผู้จัดการโรงงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากใช้แค่เพียงประสาทการรับรู้ของมนุษย์ในการตรวจจับเครื่องจักร สิ่งแวดล้อม หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงงานอาจจะเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่นอกเหนือไปจากขอบเขตที่ทำได้สำหรับความต้องการจริงไม่น้อย และเมื่อไม่สามารถตรวจจับหรือสังเกตการณ์ใด ๆ ได้ปัญหาจึงเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ก็สายเกินแก้ ไม่ว่าจะเครื่องจักรพัง เครื่องมือเสียหาย การรั่วไหลในจุดที่ไม่อาจสังเกตได้ ยิ่งปัญหาเหล่าีน้ถูกปล่อยทิ้งไว้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสลุกลามและในขณะเดียวกันก็เกิดความสูญเปล่าขึ้นตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเทคโนโลยีมาเพื่อใช้ตรวจจับกิจกรรมและปรากฎการณ์ต่าง ๆ จึงได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเหล่าผู้ผลิตยุคใหม่ไปจนถึงมือเก๋าในวงการ โดยอุปกรณ์กลุ่มเซนเซอร์และ IoT ถือเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำหรับการต่อยอดใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติ หรือจะไปไกลถึง Digital Twin ก็ตาม ซึ่งผลลัพธ์จากการใช้งานจะทำให้การบริหารจัดการสะดวก รวดเร็ว มีความโปร่งใส และมีความแม่นยำอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการกับปัญหา Downtime สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย ซึ่ง IoT สามารถสนับสนุนการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ผ่านคุณสมบัติเหล่านี้

1. ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

การใช้ข้อมูลเพื่อผลักดันกิจกรรมในโรงงานให้สามารถตรวจสอบและเฝ้าระวังได้ถือเป็นจุดแข็งข้อสำคัญสำหรับการใช้งาน IoT สถานะต่าง ๆ ของเครื่องจักรและอุปกรณ์จะถูกรายงานอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนและตัดสินใจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำมีประสิทธิภาพ

2. การซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์

การใช้ IoT กับการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์จะลดจำนวนเครื่องจักรเสียหายและเพิ่มความสามารถในการใช้งานสินทรัพย์ต่าง ๆ ในระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ททั้งยังช่วยลดต้นทุนด้านการปฏิบัติการ Downtime และต้นทุนจะสามารถถูกคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ

3. การควบคุมและติดตามการทำงานแบบ Real-time

คุณสมบัติการติดตามและประเมินผล ตลอดจนการบริหารจัดการต่าง ๆ แบบ Real-time สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งาน IoT กระบวนการและเครื่องมือที่มีจะถูกยกระดับการทำงานให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสามารถทำานได้แบบ Real-time การแก้ปัญหาหรือการตอบสนองของสถานการณ์ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตรงประเด็น

4. การวิเคราะห์อันแม่นยำล้ำหน้า

Iot ทำให้การจัดการนั้นเกิดขึ้นจากการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในสายการผลิตได้ ส่งผลให้การคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจเกิดความแม่นยำ มองเห็นทางเลือกและความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น สามารถลด Downtime ได้ 30 – 50% และยืดอายุอุปกรณ์ได้ถึง 40% หากมีการใช้งานระบบประมวลผลอัจฉริยะหรือเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพสูง ข้อมูลก็จะยิ่งมีความแม่นยำมากขึ้น

5. สร้างรายงานเป็นภาพที่เข้าใจง่าย

การติดตั้ง IoT นั้นช่วยให้ผู้จัดการโรงงานสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น เนื่องจากการใช้ประโยชน์ระบบแสดงผลรายงานเป็นภาพซึ่งทำให้เข้าใจง่ายขึ้นตัดสินใจรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่ง Dashboard จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่อุปกรณ์ IoT เก็บมาคัดเลือกและแสดงผลตามเงือนไขที่ได้ออกแบบเอาไว้นั่นเอง

ที่มา:
Internetofthingsagenda.techtarget.com

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
12 สถิติที่น่าสนใจสำหรับ IoT ในปี 2021
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Digitech2024