การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 8 เดือนของปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2

การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 8 เดือนของปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2

Date Post
04.10.2022
Post Views

กรมธุรกิจพลังงาน เผย สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 8 เดือนของปี 2565 (มกราคม-สิงหาคม)  เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยเดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 อยู่ที่ 150.92 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 โดยการใช้กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.0 น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และการใช้ NGV เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 การใช้กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะที่น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 8.1 ทั้งนี้ ภาพรวมความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ได้คลี่คลายและมีแนวโน้มดีขึ้น จากการดำเนินมาตรการทางสาธารณสุขจนสามารถผ่อนปรนมาตรการและข้อจำกัดต่างๆ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เริ่มกลับมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น

การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 29.80 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน

ของปีก่อนร้อยละ 4.5 สำหรับการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 และแก๊สโซฮอล์ อี85 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.99 ล้านลิตร/วัน 15.76 ล้านลิตร/วัน และ 0.94 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ ขณะที่การใช้แก๊สโซฮอล์ อี20 และเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 5.56 ล้านลิตร/วัน และ 0.54 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ 

โรงสีข้าวอัตโนมัติ ยอดส่งออก 1 ล้านตัน/ปี กับล้อพูนผลไรซ์มิลล์ [Automation Log In EP.1]

การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 72.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.6 การใช้ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือโดยตรึงราคาให้ไม่เกิน 30-35 บาท/ลิตร ของมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกยังมีความผันผวนสูง รวมทั้งปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นจากภาคไฟฟ้า สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 การใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 64.34 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลพื้นฐานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.61 ล้านลิตร/วัน ขณะที่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 2.71 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้ 0.19 ล้านลิตร/วัน 

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 7.82 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 80.0 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการการบินและการเดินทางเข้า-ออกประเทศ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 

การใช้ LPG เดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 18.29 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ร้อยละ 10.8 เนื่องจากการใช้ในทุกภาคเพิ่มขึ้น โดยภาคขนส่งอยู่ที่ 2.16 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 

ภาคปิโตรเคมีอยู่ที่ 8.35 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 2.04 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 และภาคครัวเรือนอยู่ที่ 5.75 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.1

การใช้ NGV เดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.40 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.4 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 พบว่ายังคงทรงตัวในระดับเดิม

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,028,795 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.7 เนื่องจากความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น โดยการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 958,752 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 109,891 ล้านบาท/เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.2 สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 70,042 บาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวม 5,939 ล้านบาท/เดือน 

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม – สิงหาคม 2565 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา 

น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกอยู่ที่ 169,445 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 12.6 คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 21,978 ล้านบาท/เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.8

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex