แรงงานในฐานะฟันเฟืองของธุรกิจทุกรูปแบบและทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นงานบริการหรือสายการผลิต นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทำ Digital Transformation ของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น หากแรงงานไม่เห็นด้วยหรือคัดค้านการลงทุนเทคโนโลยี ไม่ว่าจะระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจสำเร็จได้ ซึ่งแรงงานส่วนหนึ่งยังมีความกลัวและความไม่เข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้หลายธุรกิจประสบปัญหาในการทำ Digital Transformation โดยเฉพาะธุรกิจในระดับ SMEs
ทัศนคติของแรงงานนั้นกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในสภาพแวดล้อมของ Digital Transformation ในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังนี้
- การต่อต้านความเปลี่ยนแปลง การต่อต้านนี้เป็นปฏิกริยาโดยทั่วไปเมื่อลูกจ้างรู้สึกว่า Digital Transformation จะก่อกวน Workflow เดิมที่คุ้นเคยหรือหน้าที่การงานที่มีอยู่ ช่างเทคนิคและแรงงานอาจต่อต้านการนำเทคโนโลยีหรือกระบวนการใหม่ที่พวกเขารู้สึกไม่สบายใจ หลายครั้งพวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภัยต่อหน้าที่การงานของตัวเอง
- ทักษะและการฝึกอบรม ลูกจ้างสามารถกังวลกับทักษะในการปรับเข้าหาเครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ การฝึกอบรมทักษะที่เหมาะสมและการ Upskill เพื่อเพิ่มโอกาสเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาความกังวลและส่งเสริมแรงงาน
- ความปลอดภัยในหน้าที่การงาน เป็นความกังวลที่เกี่ยวโยงกับระบบอัตโนมัติและความสามารถในการทดแทนตำแหน่งงาน ประเด็นนี้องค์กรต้องให้ความสำคัญโดยการสื่อสารให้ชัดเจนว่า Digital Transformation ไม่ได้มีแต่เรื่องทดแทนแรงงาน แต่ยังเพิ่มความสามารถของพวกเขาและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ได้อีกด้วย
- การมีส่วนร่วม เมื่อลูกจ้างมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง จะชี้นำให้เกิดทัศนคติเชิงบวดได้ เมื่อแรงงานรู้สึกว่าความคิดเห็นที่เสนอออกมานั้นได้รับการให้คุณค่า และพวกเขาพูดเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับงานของตัวเอง พวกเขาจะกล้ายอมรับการเปลี่ยนแปลงได้มากยิ่งขึ้น
- การสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญ องค์กรต้องสื่อสารเป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นของ Digital Transformation ให้ชัดเจน พร้อมระบุความกังวัลหรือความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นอีกด้วย การสื่อสารที่โปร่งใสจะช่วยแก้ปัญหาความกลัวและสร้างความเชื่อมั่นได้
- การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การโปรโมทวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะช่วยเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนได้เป็นอย่างดี เมื่อลูกจ้างเห็นว่า Digital Transformation เป็นส่วนหนึ่งของคำมั่นสัญญาในความก้าวหน้าและการเติบโตพวกเขาจะสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น
- การจดจำและรางวัล การตระหนักและยอมรับ รวมถึงการมอบรางวัลให้ลูกจ้างสำหรับความพยายามและความสำเร็จในการใช้งานเครื่องมือดิจิทัล สามารถสร้างแรงผลักดันให้พวกเขา ทั้งยังก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกกับการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย
- สาธิตให้เห็นถึงผลลัพธ์ เมื่อใดก็ตามที่ลูกจ้างมองเห็นว่าเครื่องมือดิจิทัลและกระบวนการมีการยกระดับประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และประสบการณ์การทำงานโดยรวมได้จริง พวกเขาจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้มากยิ่งขึ้น
- วิสัยทัศน์ระยะยาว การสื่อสารถึงวิสัยทัศน์ระยะยาวสำหรับ Digital Transformation และผลลัพธ์อันมีศักยภาพที่เกิดขึ้นกับองค์กรสามารถช่วยลูกจ้างให้มองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนสำหรับการเติบโตและความยั่งยืน
ในท้ายที่สุดแล้ว ทัศนคติของแรงงานและช่างเทคนิคจะเป็นตัวตัดสินสำคัญสำหรับความสำเร็จใน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรม การเข้าหาลูกจ้าง รับฟังความกังวล การสนับสนุนการฝึกอบรมและอื่น ๆ ตลอดจนการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงช่วยสร้างทัศนคติเชิงบวก และทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นราบรื่นยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการและยกระดับทัศนคติของลูกจ้างในกระบวนการเหล่านี้