นักวิจัยได้สาธิตวิธีการที่คาร์บอนไดออกไซด์ถูกจับเอาไว้ได้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม หรือจากอากาศเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและยั่งยืนด้วยการใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cambridge พัฒนา Reactor หรือเครื่องปฏิกรณ์พลังแสงอาทิตย์ที่เปลี่ยน CO2 ที่จับไว้ได้และพลาสติกเหลือใช้ให้กลายเป็นชื้อเพลิงที่ยั่งยืนและผลิตภัณฑ์เคมีที่มีค่าอื่น ๆ ในการทดสอบ CO2 ถูกเปลี่ยนเป็น Syngas ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับเชื้อเพลิงเหลว และขวดพลาสติกถูกเปลี่ยนเป็นกรด Glycolic ซึ่งนิยมใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์
สิ่งที่แตกต่างจากการทดสอบเชื้อเพลิงแสงอาทิตย์ที่เคยมีมา คือ ทีมวิจัยได้นำ CO2 จากที่มีในโลกจริงมาใช้ เช่น ไอเสียจากอุตสาหกรรมหรืออากาศเองเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานยั่งยืน
นักวิจัยได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี Carbon Capture and Storage (CCS) ซึ่ง CO2 จะถูกจับเอาไว้และปั๊มลงไปเก็บใต้ดิน แต่เปลี่ยนจากการกักเก็บเป็นการแปลงให้เกิดประโยชน์เพื่อยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเดิมที่มีอยู่ ทีมวิจัยจึงได้ปรับแต่งเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีซึ่งใช้งานกับแก๊สเผาไหม้หรือใช้อากาศโดยตรงเพื่อเปลี่ยน CO2 และพลาสติกเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงและสารเคมีโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เท่านั้น
ด้วยการสร้างฟองอากาศผ่านระบบที่ประกอบไปด้วยสารละลายอัลคาไลน์ CO2 จะถูกจับกักเก็บเอาไว้รวมถึงแก๊สอื่น ๆ ในอากาศ เช่น ไนโตรเจนและออกซิเจนซึ่งก๊าซที่ปลอดภัยเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมา กระบวนการทำให้เกิดฟองนี้ทำให้นักวิจัยสามารถดึงเอา CO2 จากอากาศที่มีความเข้มข้นเข้าสู่สารละลายเพื่อให้ทำงานด้วยง่ายขึ้นได้
ระบบดังกล่าวยังประกอบไปด้วย Photocathode และ Anode แบ่งระบบเป็น 2 ส่วนด้านหนึ่งเป็นการเก็บสารละลาย CO2 ที่เปลี่ยนเป็น Syngas เชื้อเพลิงอย่างง่าย ในขณะที่พลาสติกเปลี่ยนเป็นสารเคมีที่ใช้ประโยชน์ได้โดยใช้แค่แสงอาทิตย์
ความสำเร็จดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเดินทางของมนุษย์ที่มุ่งหน้าสู่อนาคตที่ไร้คาร์บอนซึ่งเป็นอันตรายในสภาพแวดล้อม
ที่มา:
cam.ac.uk