NASA ได้เปิดเผยบทความที่เกี่ยวกับความพยายามในการใช้ AI เพื่อคาดการณ์ถึงการเกิดขึ้นของพายุสุริยะโดยสามารถแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุได้ถึง 30 นาที แต่สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้น คือ ผลกระทบจากพายุสุริยะอาจส่งผลต่อการสื่อสารสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตล้มเหลวได้และอาจกินเวลายาวนานหลายเดือน
Solar Maximum ปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบให้เกิด Geomagnetic Storm หรือพายุแม่เหล็กโลกสูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2025 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อารยธรรมและสังคมมนุษย์ยุคใหม่ที่มีการติดต่อสื่อสารกันแทบจะตลอดเวลา โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวมีวงรอบอยู่ที่ประมาณ 11 ปี
วงรอบที่เกิดขึ้นอาจจะร่นระยะเวลาและเกิดขึ้นไวกว่าการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เองเป็นส่วนหนึ่งของความกังวลจากแนวคิด Internet Apocalypse ซึ่งเป็นหนึ่งในผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จาก University of California ในปี 2021 ทำให้ผู้คนบนโลกออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิดความตระหนักต่อแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นอย่างมาก
โดยผลกระทบจากพายุสุริยะที่มีความรุนแรงสูงจะสร้างคลื่นแม่เหล็กซึ่งส่งผลกระทบหรือเกิดการรบกวนต่อระบบการสื่อสาร ดาวเทีม และกริดพลังงาน ซึ่งเทคโนโลยีและระบบเหล่านี้เป็นกระดูกสันหลังของสังคมมนุษย์สมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จริง ๆ แล้วผลกระทบจากการก่อกวนของดวงอาทิตย์นั้นเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น กรณีปรากฎการณ์ไฟฟ้าดับที่เมือง Quebec ในปี 1989 และกรณีที่รุนแรงที่สุดในชื่อ Carrington Event ในปี 1859 ที่พายุสุริยะส่ง Solar Flare มายังชั้นบรรยากาศโลกโดยตรง ทำให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกก่อกวนกระแสไฟฟ้า ท้องฟ้าเต็มไปด้วย Aurora และระบบโทรเลขล่มทั่วโลก
ปรากฎการณ์พายุแม่เหล็กโลกกำลังสูงนั้นทิ้งร่องรอยเอาไว้เป็นหลักฐานบางส่วนในน้ำแข็งขั้วโกล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบระดับของความเข้มข้นไนเตรตที่เพิ่มขึ้นได้ และปรากฎการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 500 ปี ซึ่งก็ไม่ได้หมายความสามารถเกิดขึ้นก่อนวงรอบได้เช่นกัน
โดยการศึกษาจาก 2021 UC Irvine พบว่ามีการรบวนเกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตระหว่าง 1.6 – 12% ต่อทศวรรษ และหากเกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้ผลกระทบที่กิจกรรมทั่วโลกผูกเข้ากับเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างแน่นแฟ้นจะเกิดความเสียหายไม่น้อยอย่างแน่นอน
ความพยายามของ NASA ที่เกิดขึ้นโดยใช้ AI ในการคำนวณและคาดการณ์นั้นจะสามารถช่วยลดความเสียหาย ป้องกัน หรือบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลกสมัยใหม่ได้
ที่มา:
thehill.com
nasa.org