The German transmission system operators (TSOs) เผยแผนการสร้างเครือข่ายท่อขนส่งไฮโดรเจนที่มีความยาวรวมกว่า 11,000 กิโลเมตรภายในปี 2032
โดยเป้าหมายของระบบท่อขนส่งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการจะสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลเยอรมนีในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานของการใช้พลังงานไฮโดรเจนในเยอรมนีให้มีต้นทุนที่ต่ำลงและมีความรวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง
- เขียว น้ำเงิน เทา ? ทำความรู้จักกับ “สี” ของไฮโดรเจน
- Toyota ร่วมมือ CP เตรียมผลิตเชื้อเพลงไฮโดรเจนจาก ‘มูลไก่’
- บินนานขนส่งหนักได้มากกว่าเดิม โดรนพลังงานไฮโดรเจน H2D55
สำหรับแผนการที่วางไว้นั้นก็จะใช้การเน้นการเปลี่ยนแปลงระบบท่อในปัจจุบันให้มากที่สุดแทนการสร้างท่อใหม่ขึ้นมา โดยจะมีการสร้างระบบท่อใหม่เพิ่มเติมเล็กน้อยระหว่างเมืองเบอร์ลินและชายฝั่งทางเหนือของเยอรมนี
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและมีความต้องการใช้พลังงานไฮโดรเจนสูงนั้นก็ได้แก่อุตสาหกรรมโลหะและอุตสาหกรรมเคมี เช่นผู้ผลิตแอมโมเนีย โรงกลั่นและผู้ผลิตแก้ว เป็นต้น
ช่วยภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยหากสรุปสถานะแผนการปัจจุบันแล้ว ระบบท่อขนส่งไฮโดรเจนนี้จะมีเครือข่ายเส้นทางที่มีความยาวรวมกว่า 11,200 กิโลเมตร และจะมีการเชื่อมต่อไปยังไซต์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศหากไม่มีไฮโดรเจน
ระบบไฮโดรเจนที่มีความครอบคลุมนี้จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมทั่วเยอรมนีสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้อย่างมหาศาล และแผนการขนาดใหญ่เช่นนี้ยังเป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่ช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงตลาดในอนาคตของการใช้พลังงานไฮโดรเจนที่จะเติบโตขึ้นอีกได้อย่างแน่นอน