องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (The Indian Space Research Organization – ISRO) เตรียมเปิดตัวภารกิจ Gaganyaan ส่งยานอวกาศไร้คนขับพร้อมหุ่นยนต์ Half-Humanoid Robot ในชื่อ Vyommitra ออกสู่อวกาศ
- ‘Space Factory’ โรงงานอวกาศแห่งแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจรแล้ว !
- ที่มาภาพในอวกาศสุดคมชัด กล้องโทรทรรศน์ James Webb สร้างจากอะไร ?
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Interesting Engineering ได้ระบุว่าสาเหตุที่ Vyommitra ถูกเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ประเภท Half-Humanoid นั้นก็เป็นเพราะ Vyommitra ไม่มีส่วนประกอบของขาอย่างหุ่นยนต์ Humanoid แบบทั่วไป แต่แทนที่ไว้ด้วยความสามารถในการโค้งงอไปด้านข้างและด้านหน้าได้แทน
โดยหุ่นยนต์ Vyommitra นั้นสามารถปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือน การควบคุมการทำงานของแผงสวิตช์และการตรวจสอบพารามิเตอร์โมดูล และจะถูกส่งขึ้นไปในภารกิจแห่งนี้เพื่อสาธิตการทำงานที่ปลอดภัยของโมดูลลูกเรือนั่นเอง
และนอกจากการทำงานเหล่านี้แล้ว Vyommitra ยังมีความสามารถในการจดจำมนุษย์ ตอบคำถามต่าง ๆ และทำการทดลองได้เมื่อจำเป็น ซึ่ง Vyommitra ก็จะเข้ามาจำลองการทำงานของมนุษย์ในอวกาศและทำการโต้ตอบกับการควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบช่วยชีวิตได้
ทดลองระบบก่อนทำภารกิจส่งตัวนักบินอวกาศ
เมื่อหุ่นยนต์ Vyommitra สำเร็จภารกิจในการทดลองระบบแล้ว ทาง ISRO ก็จะทำการส่งตัวนักบินอวกาศชาวอินเดีย 3 คนเข้าสู่วงโคจรรอบโลกและทำการโคจรเป็นระยะทางกว่า 400 กิโลเมตรเพื่อทำการทดลองต่าง ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน ก่อนที่นักบินอวกาศจะกลับมายังโลกอย่างปลอดภัยด้วยการลงจอดในมหาสมุทรอินเดีย
ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หุ่นยนต์อย่าง Vyommitra นั้นสามารถเข้ามามีบทบาทในการช่วยทดสอบภารกิจที่อาจมีความเสี่ยงต่อมนุษย์ได้ และไม่แน่ว่าในอนาคตข้างหน้า การมีหุ่นยนต์มาเป็นผู้ช่วยคอยประจำอยู่ในยานอวกาศอาจจะกลายเป็นเรื่องปกติไปก็ได้ครับ