วิศวกรจาก MIT พัฒนาเทปกาวที่สามารถใช้งานได้กับบาดแผลภายในอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการฉีกขาดและเลือดไหลของอวัยวะภายใน อย่างเช่น ลำไส้
เทปกาวที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นเป็นเทปกาวชนิดพิเศษสำหรับงานผ่าตัดที่มีทั้งความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และสามารถใช้งานได้กับอวัยวะชีวภาพ โดยสามารถใช้งานกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะได้ง่าย ช่วยปิดบาดแผลหรือรอยแยกที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ในการทดสอบนั้นแสดงให้เห็นว่าเทปกาวชีวภาพนี้สามารถใช้กับบาแผลหรือช่อขนาดใหญ่ได้ในลำไส้และกระเพาะของสัตว์หลากหลายชนิด สารยึดติดนั้นทำหน้าที่ติดเนื้อเยื่อเข้าด้วยกันในเวลาไม่กี่วินาทีและสามารถคงอยู่ได้มากกว่าหนึ่งเดือน ด้วยความยืดหยุ่นที่มาทำให้สามารถขยายตัวและใช้งานร่วมกับอวัยวะที่กำลังใช้งานอยู่ได้เพื่อให้เกิดการเยียวยาไปพร้อม ๆ กัน เมื่ออาการบาดเจ็บได้รับการรักษาเสร็จสิ้น ตัวเทปจะค่อย ๆ ย่อยสลายไปโดยไม่ก่อนให้เกิดปัญหาอักเสบหรือเกาะติดกับเนื้อเยื่อรอบ ๆ
ส่วนของกาวนั้นสร้างจากกรด Polyacrylic ซึ่งเป็นวัสดุที่ถูกดูดซับได้และมักพบในผ้าอ้อมสำเร็จรูปซึ่งจะเริ่มต้นจากสถานะที่แห้งและทำการดูดความชื้นเมื่อสัมผัสเข้ากับพื้นผิวที่เปียก และจะทำการยึดติดกับเนื้อเยื่อ ในการพัฒนาตัวอย่างแรกซึ่งเป็นเทปสองหน้านักวิจัยได้ผสมวัสดุ NHS esters, สารประกอบทางเคมีที่สามารถเชื่อมเข้ากับโปรตีนในเนื้อเยื่อเพื่อสร้างการเชื่อมพันธะที่แข็งแรงและเสริมแรงด้วยเจลาตินหรือไคโตซาน ส่วนประกอบธรรมชาติที่ทำให้เทปคงรูปร่างอยู่ได้
ในการอัพเกรดสู่เทปรุ่นปัจจุบันมีการแทนที่เจลาตินและไคโตซานด้วยไฮโดรเจลซึ่งมีอายุยาวนานกว่า ในที่นี้คือ Polyvinyl Alcohol ยืดอายุวัสดุเทปออกไปหลักเดือนซึ่งจะสอดคล้องกับระยะเวลาที่อวัยวะอย่างตับจะรักษาตัวเองได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มเลเยอร์ด้านบนให้เป็นพื้นผิวที่ไม่ยึดติด (Nonstick) เพื่อป้องกันไม่ให้เทปไปยึดติดกับเนื้อเยื่อโดยรอบ เลเยอร์นี้สร้างจากโพลียูรีเทนที่สามารถย่อยสลายได้ตามหลักชีวภาพซึ่งมีความทนทานและความยืดหยุ่นในระดับเดียวกับเนื้อเยื่อลำไส้
ที่มา:
Mit.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ: วัสดุ Elastomeric Resin เกรดการแพทย์สามารถใช้กับการพิมพ์ 3 มิติได้แล้ว |